วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

การประเมินผลงานของกลุ่ม

ประเมินคะแนนผลงานของกลุ่ม
วิชา Politic and Government (100132)

เสนอ
อาจารย์ฉลองรัฐ เจริญศรี

ชิ้นงาน Blog ( Election in USA)
URL : http://eletion-usa.blogspot.com/
รายละเอียดผลงาน
นำเสนอเรื่องขั้นตอนการเลือกตั้งของประเทศสหรัฐอมริกา และนำมาเปรียบเทียบแสดงความคิดเห็นกับประเทศไทย
สมาชิกในกลุ่ม
1. ชื่อ : นางสาว กนกวรรณ ตุลารักษ์ ID : 5131007002 sec 1
2.ชื่อ : นางสาว กฤติกา ทรัพย์สินชัย ID : 5131007006 sec 1
3.ชื่อ : นางสาว จารุนาฏ บุตรแสงดี ID: 5131007012 sec 1
4.ชื่อ : นางสาว ดวงกมล คุ้มพวง ID : 5131007032 sec 1
5.ชื่อ : นางสาว วรารัตน์ ริดจูงพืช ID : 5131007082 sec 1
6.ชื่อ : นาย กฤษตินัย วงศ์หิรัญสมบัติ ID : 5131007115 sec 1
สำนักวิชา : ศิลปะศาสตร์ สาขาวิชา : ภาษาจีนธุรกิจ


ประเมินภายสมาชิกในกลุ่ม

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552

การเลือกตั้งของประชาชนในสหรัฐอเมริกา

การเลือกตั้ง

(Election)



การเลือกตั้งของประชาชนในสหรัฐอเมริกา

การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เป็นการแสดงออกของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการเลือกผู้นำของตน กฎหมายอเมริกาให้สิทธิแก่คนอเมริกาในการออกเสียงเลือกตั้ง ตัวอย่างเช่น ในปีค.ศ. 1978 มีผู้ไปออกเสียงเลือกตั้งเพียง1 ใน 3 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาสูงและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น
รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ขยายสิทธิในการเลือกตั้งแก่ประชาชนชาวอเมริกา ซึ่งจะเห็นได้จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 15 ที่ให้สิทธิการเลือกตั้งแก่คนผิวดำ การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 16 ให้สิทธิแกสตรีในการเลือกตั้ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 26 ให้สิทธิแก่ประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปมีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง แสดงว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกาสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองกว้างขวางมากขึ้น ประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งต้องไปลงทะเบียนก่อนถึงมีสิทธิลงคะแนนเสียงได้ การลงทะเบียนคือการลงชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง โดยผู้ลงทะเบียนต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด


1. คุณสมบัติของประชาชนที่มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง
1) เป็นพลเมืองหรือ สัญชาติอเมริกันเท่านั้น
2) มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์
3) อยู่ในท้องถิ่นระยะเวลาพอสมควรในปี ค.ศ. 1970 สภาคองเกรสได้บัญญัติกฎหมายทีที่เกี่ยวกับการออกเสียงเลือกตั้ง คือให้ผู้มีสิทธิออกเสียงต้องมีถิ่นที่อยู่อาศัยในเขตเลือกตั้งนั้น 30 วัน ต่อมาปี ค.ศ. 1973 ศาลสูงแก้เป็น50 วัน
4) ต้องไปลงทะเบียนแสดงเจตจำนงออกเสียงเลือกตั้งภายในเวลาที่แต่ละมลรัฐกำหนด ส่วนใหญ่คือ 54 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง ณ หน่วยเลือกตั้งของตน


5) แต่ละมลรัฐจะกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเป็นของตัวเอง



2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
1) อายุ อายุมากขึ้นมีแนวโน้มมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น


2) การศึกษา โดยทั่วไปผู้มีการศึกษาสูงจะมีแนวโน้มไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่า

3) สถานะทางสังคมและรายได้ ปัจจัยเกี่ยวกับสถานะทางสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อชาติมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ความแตกต่างของรายได้ของประชาชนผู้ที่มีรายได้สูงไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่าผู้มีรายได้น้อย
4) การแข่งขันระหว่างพรรคการเมือง 2 พรรค มลรัฐที่มีการแข่งขันสูง มีอัตราการใช้สิทธิเลือกตั้งสูง โดยส่วนใหญ่ที่ผ่านมาพรรครีพับลิกันได้คะแนนสูงกว่าพรรคเดโมแครท




3. ปัจจัยกำหนดทางเลือกของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

1.ปัจจัยทางด้านสังคม

1) การศึกษา ผู้มีการศึกษาสูงจะลงคะแนนเสียงให้กับพรรครีพับลิกัน ผู้มีการศึกษาน้อยจะลงคะแนนเสียงให้กับพรรคเดโมแครท
2) ชนชั้นทางสังคม รายได้ และอาชีพ กลุ่มชนชันสูงและชั้นกลางมักจะลงคะแนนเสียงให้กับพรรครีพับลิกัน กลุ่มคนชั้นล่างลงคะแนนเสียงให้กับพรรคเดโมแครท นักวิชาการ นักธุรกิจและผู้มีรายได้สูงจะลงคะแนนเสียงให้กับพรรครีพับลิกันมากกว่าพรรคเดโมแครท
3) ศาสนา ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์จะลงคะแนนเสียงให้กับพรรครีพับลิกัน ส่วนผู้ที่นับถือศาสนานิกายคาทอลิกลงคะแนนเสียงให้กับพรรคเดโมแครท
4) เชื้อชาติ ผู้ที่มีเชื้อชาติไอริช สลาฟ โปล และอิตาเลียน มีแนวโน้มออกเสียงให้พรรคเดโมแครท ส่วนพวกเชื้อชาติแองดกลแวกซอนและนอร์ท ยูโรเปียนมีแนวโน้มออกเสียงให้พรรครีพับลิกัน
5) เพศ การลงคะแนนเสียงระหว่างเพศเริ่มมีความแตกต่างขึ้นอยู่กับภาพลักษณ์ของพรรค และประเด็นการหาเสียง รวมทั้งความคิดทางการเมืองของเพศหญิงและชาย
6) อายุ ปีค.ศ. 1960 ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่มีอายุน้อยส่วนมากจะลงคะแนนเสียงให้กับพรรคเดโมแครท ในช่วงปี ค.ศ. 1984การเลือกตั้งประธานาธิบดีเรแกน ผู้ออกเสียงอายุต่ำกว่า 30 ปี ได้ลงคะแนนให้กับประธานาธิบดีเรแกนสูงถึงร้อยละ 60




2.ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา
1) ความผูกผันกับพรรคการเมือง ช่วงปลายปี ค.ศ. 1930 ชาวอเมริกันมักนิยมพรรคเดโมแครทความผูกผันนี้มาจาก ครอบครัว เพื่อนๆ นอกจากครอบครัวแล้วขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและการหาข้อเท็จจริงมาสนับสนุนพรรคที่ตัวเองชอบ
2) ความเข้าใจในตัวผู้สมัคร ภาพลักษณ์ของผู้สมัครมีความสำคัญต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงของผู้ใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเช่นกัน
3) ประเด็นการหาเสียง ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องตั้งประเด็นการหาเสียงที่ตรงใจกับผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเพื่อให้รับการสนับสนุน

การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง

การเลือกตั้ง


(Election)

การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง

การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองของนักการเมืองและเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมตัดสินว่าใครจะมาเป็นผู้ปกครองของตน นอกจากนี้การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งยังเป็นการให้สิทธิกับประชาชนในการกำหนดแนวโน้มของนโยบายที่จะมีผลต่อทั้งชีวิตส่วนตัวและส่วนรวมของประชาชน

กลยุทธ์การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์สูงสุด คือ การชนะการเลือกตั้งซึ่งเป็นสิ่งที่ยากที่สุด ปัญหาแรกที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องเผชิญ คือ การเลือกผู้จัดการของการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และกลุ่มผู้ทำงานร่วมทีมเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาในประเด็นปัญหาต่างๆ ทั้งทางด้านการรณรงค์หาเสียง และการวางแนวนโยบายหาเสียง ผู้จัดการและหัวหน้าที่ปรึกษาจึงมีหน้าที่รับผิดชอบวางแผนกลยุทธ์การหาเสียง ปัญหาคือการหาเงินทุนเพราะการรณรงค์หาเสียงในสหรัฐอเมริกาต้องใช้เงินมาก กลยุทธ์สำคัญในการสร้างโอกาสเพื่อการชนะการเลือกตั้ง คือการใช้ทุนน้อยทั้งในแง่งบประมาณและกำหนดการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องดำเนินการต่อไป

1. แหล่งที่มาของเงินทุนในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง การรณรงค์กาเสียงเลือกตั้งและเงินทุนในการหาเสียงเป็นสิ่งที่คู่กันในการเลือกตั้งของระบอบประชาธิปไตย การหาเงินทุนในการหาเสียงเลือกตั้งจึงเป็นสิ่งสำคัญ
2. ค่าใช้ต่ายในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ค่าใช้จ่ายในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งที่มีจุดประสงค์ถูกต้องตามกฎหมาย
3. กฎเกณฑ์ด้านการเงินในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
4. การตรวจสอบการใช้เงินในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง

ในปี ค.ศ.1974 ได้มีการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งขึ้นใหม่ โดยสาระสำคัญเกี่ยวกับมาตรการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินมีดังนี้
1) ด้วยความเห็นชอบของสภาคองเกรส ให้มีคณะกรรมการจักการเลือกตั้ง ทำหน้าที่จักระเบียบข้อกำหนดการใช้จ่ายเงินในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งตำแหน่ง ประธานาธิบดี สมาชิกสภาสูง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
2) ผู้สมัครทุกคนต้องรายงาน รายการรับเงินสนับสนุนและรายการค่าใช้จ่ายแก่รัฐบาล
3) ผู้สมัครตำแหน่งประธานาธิบดีที่ปรารถนาจะรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจะต้องใช้จ่ายเงินภายใต้วงเงินที่กำหนดไว้ตามระเบียบ
4) พรรคการเมืองระดับชาติที่ต้องการได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลจำนวน 6 ล้านเหรียญ สำหรับค่าใช้จ่ายในการประชุมระดับชาติ
5) พรรคการเมืองอาจใช้เงินในวงเงิน 7 ล้านเหรียญ สำหรับค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งตำแหน่ง ประธานาธิบดี และสมาชิกสภาคองเกรสโดยไม่รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล
6) พรรคการเมืองที่ได้รับเสียงรองลงมา ที่มีผู้ลงคะแนนเสียงให้ร้อยละ 5ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี มีสิทธิที่จะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลภายหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง
7) บุคคลหรือองค์การมีอิสระในการใช้จ่ายเงินทีไม่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ของผู้สมัคร
8) ประชาชนสามารถให้เงินแก่ผู้สมัครในการเลือกตั้งขั้นต้น (Primary) แต่ละครั้งได้คนละ 1000 เหรียญ แต่ไม่เกิน 25000 เหรียญและในการเลือกตั้งทั่วไป (General) แต่ละครั้งไม่เกิน 50000 เหรียญ



กฎหมายการควบคุมการใช้เงินฉบับนี้ ทำให้ผู้สมัครหลายคนรวมทั้งประธานาธิบดี จิมมี่ คาร์เตอร์ ต้องถูกปรับเป็นเงินจำนวนมาก ในปีค.ศ. 1984 เนื่องจากการใช้เงินในการหาเสียงเกินจากที่กฎหมายกำหนดโดยเฉพาะข้อหาการใช้เงินจากช่องโหว่ของกฎหมาย



บทวิเคราะห์ครั้งที่ 3

บทวิเคราะห์ครั้งที่ 3
เปรียบเทียบประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย

ทำอย่างไร? ... การเลือกตั้งในประเทศไทยจึงเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมมากที่สุด


"มองเขา..มองเรา ย้อนดูตัวเอง" ณ เวลานี้คงไม่มีคำพูดใดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเวลานี้ หลายประเทศมีการปกครอง การบริหาร รวมไปถึงขั้นตอนการสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองที่ต่างกันออกไป อาจจะมีบางส่วนที่คล้ายกัน บางประเทศที่เหมือนกัน แต่...สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ จะทำอย่างไรให้กระบวนการสรรหาและได้มาผู้ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองเป็นไปอย่างบริสุทธิ์และยุติธรรมมากที่สุด

ประเทศไทย กับ ประเทศสหรัฐอเมริกา ... ถือเป็นหน่วยสังคมหนึ่ง ที่ต้องมีกฎ มีการปกครอง มีผู้นำ มีการเลือกผู้นำ รวมไปถึงมีกระบวนการสรรหา และในกระบวนการสรรหา หรือที่ปัจจุบันเรามักจะได้ยินว่ากระบวนการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ผู้แทนของประชาชนที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเป็นปากเป็นเสียงแทนประชาชน) แน่นอนว่า เมื่อเกิดปัญหาอะไรขึ้นมาภายในสังคม ภายในประเทศ คนกลุ่มนี้จะเป็นผู้แทนของประชาชนเพื่อเข้าไปช่วยแก้ปัญหา

ขั้นตอนของการสรรหา หรือ การเลือกตั้งนั้น ถ้าเราดูกันดีๆแล้วไม่ว่าประเทศไหน สหรัฐอเมริกา หรือประเทศไทยล้วนแต่มีขั้นตอนที่รัดกุม ยากที่จะมีการทุจริตได้ ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งถือว่าเป็นประเทศแม่แบบของการปกครองในระบอบประชาธิบไตย ถือว่าน้อยมากหรือไม่มีเลยกับการทุจริตในการเลือกตั้ง แต่..สำหรับประเทศไทย ประเทศกำลังพัฒนา ปกครองด้วยระบอบประชาธิบไตย ยังมีการทุจริตในการเลือกตั้งให้เห็นกันอยู่มาก มีการฟ้องร้องต่อผู้กระทำผิดในการเลือกตั้งต่างๆนานา ต้องมีการเลือกตั้งซ่อมบ้าง มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงกันเกิดขึ้นมากมาย แต่ก็มีมาตรการการลงโทษต่างๆที่เกี่ยวกับการกระทำผิดในการเลือกตั้งออกมามากมาย แต่หลายคนก็ยังจะทำ เพียงเพื่อที่จะทำให้ตนได้รับเลือกตั้งเข้ามาเท่านั้นเอง...

ทุกวันนี้มาตรการที่กำหนดโทษต่างๆที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งก็มีมากมาย แต่ทำไมคนจึงไม่กลัว ยังมีการกระทำผิดอยู่อย่างต่อเนื่อง ... หรือ เราต้องให้แต่ละคนรู้ด้วยตนเอง รู้ด้วยจิตสำนึกของแต่ละคนและร่วมกันทำให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมมากที่สุด กระนั้นหรือ..???

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2552

เกร็ดความรู้ (การนับคะแนนเสียงของประเทศไทย)

เกร็ดความรู้

การนับคะแนนเสียงของประเทศไทย



ขั้นตอนการดำเนินงานหลังปิดการลงคะแนน

1.คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง หรือกปน.ไม่น้อยกว่า 7 คน ลงรายมือชื่อในป้ายสำหรับปิดช่องใส่บัตรเลือกตั้ง จากนั้นให้นำป้ายไปปิดทับช่องใส่บัตรเลือกตั้งของหีบบัตร และใส่กุญแจ พร้อมประทับครั่งทับรูกุญแจ

กปน.ไม่น้อยกว่า 7 คน ลงรายมือชื่อบนหีบบัตร และปิดทับลายมือชื่อทั้งหมดนั้นด้วย เทปกาวใส เพื่อป้องกันการเปลี่ยนหีบบัตร และมัดหีบบัตรเลือกตั้ง ด้วยเชือก แล้วผูกปมเชือกไว้ด้านข้าง และประทับครั่ง ทับปมเชือก หรือวิธีการอื่น เพื่อป้องกันการเปิดหีบบัตร

2.นำบัตรเลือกตั้งที่ยังไม่ได้ใช้ มานับ พร้อมบันทึกไว้ แล้วใช้โลหะปลายแหลม ตอกทะลุบัตรทุกฉบับ แล้วใช้เชือกร้อยผูกให้เป็นปึกเดียวกัน จากนั้นประทับครั่งทับปมเชือก เพื่อป้องกันไม่ให้เอาบัตรที่เหลืออยู่มาลงคะแนนใหม่ได้

3.นับจำนวนผู้มาแสดงตนและขอรับบัตร จำนวนบัตรที่เหลือ จัดทำเป็นประกาศ ให้กปน.ทุกคนลงลายมือชื่อและปิดประกาศไว้ ณ ที่เลือกตั้ง 1 ชุด ส่งให้คณะกรรมการนับคะแนน 1 ชุด พร้อมกับรายงานการใช้สิทธิเลือกตั้ง

4.นำหีบบัตรเลือกตั้ง และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ส่งกรรมการนับคะแนนเลือกตั้งทันที


ขั้นตอนการขนส่งหีบ


กปน.ไม่น้อยกว่า 5 คน และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย นำหีบบัตรเลือกตั้ง พร้อมบัตรเลือกตั้งที่เหลือ เอกสารที่สำคัญ ส่งคณะกรรมการนับคะแนนเลือกตั้งทันที และให้ อาสาสมัครสังเกตุการการเลือกตั้ง(อสส.) ที่ประจำ ณ ที่เลือกตั้ง เดินทางติดตามไปจนถึงสถานที่นับคะแนนด้วย


การแจ้งเหตุอีกครั้ง หลังจากการเลือกตั้ง 30 วัน

กกต. จะประกาศรายชื่อผู้ที่ไม่ไปเลือกตั้ง และไม่แจ้งเหตุล่วงหน้าไว้ ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน อบต. ฯลฯ เพื่อให้โอกาสไปแจ้งเหตุอีกครั้งหนึ่งภายใน 60 วัน ถ้าครั้งนี้ไม่ไปแจ้งเหตุอีก จะประกาศชื่อเป็นครั้งที่สองและต้องเสียสิทธิทางการเมือง 8 ประการไปจนกว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. หรือ ส.ว. ในครั้งต่อไป

ขั้นตอนการนับคะแนน


ขั้นตอนที่1 คณะกรรมการนับคะแนนเลือกตั้ง(กนค.)ฝ่ายตรวจรับหีบบัตรเลือกตั้ง ทั้งจากที่เลือกตั้งกลาง ที่เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร และที่เลือกตั้งในวันเลือกตั้ง ตรวจรับหีบบัตรทั้งหมด จากกปน. ตรวจนับจำนวนบัตรเลือกตั้งที่เหลือ รวมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของหีบบัตร และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนที่2 กนค. ฝ่ายนับจำนวนบัตรเลือกตั้ง เปิดหีบบัตรเพื่อเปิดนับจำนวนบัตรที่ลงคะแนนแล้วแต่ละประเภท ว่าถูกต้อง ตรงกับรายงานหรือไม่ จากนั้น ให้ลงรายมือชื่อภายในหีบบัตร แล้วปิดหีบดังเดิม ส่งให้กนค.ฝ่ายรักษาหีบบัตร

ขั้นตอนที่3 กนค.ฝ่ายรักษาหีบบัตร ต้องเก็บรักษาหีบบัตรและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ในที่ปลอดภัย จนกว่าจะได้รับหีบบัตรและบัตรเลือกตั้ง ครบทุกหน่วยเลือกตั้งในเขตนั้นแล้ว จึงส่งมอบให้กนค.ฝ่ายรวมบัตรเลือกตั้ง

ขั้นตอนที่4 กนค.ฝ่ายรวมบัตรเลือกตั้ง มีหน้าที่
1.นำบัตรเลือกตั้ง ออกจากหีบบัตร แล้วแยกประเภทของบัตร แล้วจ่ายให้ กนค.ฝ่ายนับคะแนน ครั้งละ500 ใบ
2.รับบัตรเลือกตั้งที่นับคะแนนแล้ว ทุก500ใบ บรรจุลงในบัตรเลือกตั้ง ก่อนที่จะจ่ายบัตรเลือกตั้ง 500 ใบครั้งต่อไป
การบรรจุบัตรเลือกตั้งที่นับคะแนนแล้ว ให้แยกประเภทบัตรบรรจุในหีบบัตรแต่ละใบ แล้วปิดหีบ ส่งให้กนค.ฝ่ายรักษาหีบบัตร

ขั้นตอนที่5 กนค.ฝ่ายนับคะแนน แบ่งหน้าที่กันดังนี้
คนที่1 มีหน้าที่หยิบบัตรเลือกตั้ ง คลี่บัตรแล้วส่งให้คนที่ 2
คนที่2 มีหน้าที่ วินิจฉัยว่าเป็นบัตรดี บัตรเสีย หรือบัตรที่ไม่ลงคะแนน โดยอ่านออกเสียง และชูบัตร ให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นเห็นด้วย หากเป็นบัตรดี ให้อ่านเลขผู้สมัครที่ได้คะแนน หากเป็นบัตรเสีย ให้กกต.เขต สลักหลังบัตร "ว่าเสีย" และลงลายมือชื่อกำกับไม่น้อยกว่า 3 คน
คนที่3 รับบัตรจากคนที่ 2 มาแยกใส่ภาชนะ 3 ใบ ตามประเภทของบัตร
คนที่4 ขีดคะแนนลงบนกระดานดำ หรือโดยวิธีอื่น เพื่อให้คนในบริเวณนั้น เห็นอย่างชัดเจน โดยขีดคะแนน ทั้งบัตรที่เป็นคะแนน บัตรที่ไม่ลงคะแนน และบัตรเสีย(หมายเหตุ)ให้ดำเนินการนับเช่นนี้ทุก 500 ใบ

ขั้นตอนที่6 เมื่อ กนค.ฝ่ายรวมคะแนน ได้รับรายงานผลการนับคะแนนครบทุกชุด ให้นำคะแนนทั้งหมด มารวมเป็นรายงานผลการรวมคะแนน ของเขตเลือกตั้ง โดยแยกเป็น การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และการเลือกตั้งแบบบัญชี่รายชื่อ แล้วรายงานให้กกต.เขตทราบ

ขั้นตอนที่7 เมื่อ กกต.เขต ได้ตรวจสอบผลการนับคะแนนแล้ว ให้จัดทำประกาศผลการนับคะแนน แต่ละประเภทส่งให้กกต.จว.และกกต.ทราบโดยเร็ว


รวมภาพ






วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2552

การนับคะแนนเสียง

การเลือกตั้ง

(Election)

การนับคะแนนเลียง ( Counting the Voters)


การนับคะแนนเสียงเพื่อมิให้เกิดการโกง แต่ละพรรคจะส่งตัวแทน หรือที่เรียกว่า “ Poll Watcherไปคอยสังเกตการณ์ที่หน่วยเลือกตั้งในวันเลือกตั้งเพื่อให้แน่ใจถึงความซื่อสัตย์ โดยทั่วจะส่งไป 2 คนต่อหน่วยการเลือกตั้ง รวมทั้งยังทำหน้าที่คัดค้าน (Challenge) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ออกเสียงเลือกตั้งไม่มีคุณสมบัติในการออกเสียงเลือกตั้ง นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรรมการตรวจบัตรเลือกตั้งโดยทั่วไปผู้ที่สนับสนุนของทั้ง 2 ฝ่าย ทำหน้าที่รับคะแนนเสียงที่นับมาจากหน่วยเลือกตั้งแล้วนำมาสร้างตารางแล้วลงตัวเลข และรับรองผู้ชนะ โดยส่งผลไปยังเจ้าหน้าที่ตรวจบัตรเลือกตั้งของมลรัฐซึ่งส่วนใหญ่ก็รับรองผลที่ส่งมาทั้งสิ้น
ในคืนวันเลือกตั้งเจ้าหน้าที่การเลือกตั้งของมลรัฐจะนำผลการลงคะแนนเสียงของแต่ละมลรัฐจัดทำเป็นตารางรายงานผลผ่านศูนย์บริการเครือข่ายการเลือกตั้ง ซึ้งเป็นศูนย์ความร่วมมือระหว่างเครือข่ายโทรทัศน์หลักๆ 3 แห่ง และสมาคมผู้สื่อข่าว (Associated Press) และสหพันธ์ผู้สื่อข่าว (United Press) ซึ่งจะทำการรายงานผลตลอดเวลา

ในปัจจุบันนี้เนื่องจากเทคโนโลยีได้พัฒนาก้าวหน้าไปมาก ทำให้ประชาชนชาวอเมริกันไม่ต้องรอผลการเลือกตั้งกระทั้งการนบคะแนนทั้งหมดเสร็จสิ้นก็สามารถทราบผลอย่างไม่เป็นทางการได้ล่วงหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการใช้ระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ (Computer Online System) และหลักการพยากรณ์ทำให้ทราบผลล่วงหน้าอย่างแม่นยำ

การใช้สิทธิเลือกตั้ง


การเลือกตั้ง

(Election)


การใช้สิทธิเลือกตั้ง (Ballot)

การลงทะเบียนเลือกตั้ง มลรัฐส่วนมากมีทะเบียนเลือกตั้งของประชาชนไว้เรียบร้อย ประชาชนซึ่งจะลงทะเบียนเลือกจะต้องออกเสียงในการเลือกตั้งทั่วไปทุก 2ปี ในอดีตการเลือกตั้งทั่วไปเป็นแบบเปิดเผย (Open Ballot) แต่ภายหลังสหรัฐอเมริกาได้ปรับปรุงให้การออกเสียงเป็นแบบลับ หรือที่เรียกว่า “Australian Ballot”

1.ประเภทของบัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
บัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาสำหรับการเลือกตั้งมี 2 ประเภท คือ
1)บัตรเลือกตั้งแบบคอลัมน์ (The Office-Column Ballot) หรือบัตรเลือกตั้งแบบ
แมสซาจูเซทส์ (Massachusetts Ballot)
บัตรเลือกตั้งแบบนี้หมายถึงการใส่ชื่อของผู้สมัครแข่งขันทั้งหมดในช่องรายชื่อของบัตรเลือกตั้งโดยการเรียงตามลำดับตามแนวตั้ง (Column) ซึ่งเป็นเสมือนการบังคับให้ประชาชนเลือกตัวบุคคลมากกว่าเลือกพรรค
2)บัตรเลือกตั้งแบบพรรค-คอลัมน์ (The Party-column Ballot) หรือบัตรเลือกตั้ง
แบบอินเดียน่า (Indiana Ballot)
บัตรเลือกตั้งแบบนี้นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกา โดยจะพิมพ์รายชื่อของผู้เข้าชิงตำแหน่งของแต่ละพรรคในบัญชีแนวตั้ง (Column) หรือ “pull one lever” ซึ่งเท่ากับผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งได้ลงคะแนนให้แก่รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งคอลัมน์โดยอัตโนมัติ บัตรเลือกตั้งนี้เป็นการกระตุ้นให้ออกเสียงเลือกพรรคโดยตรง (Straight-ticket voting)

2.บัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแบบยาวหรือบัตรลงคะแนนเสียงแบบสั้น

บัตรลงคะแนนเสียงทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวข้างต้นสามารถแบ่งออกเป็นบัตรลงคะแนนเสียงแบบยาว (Long Ballot) และบัตรลงคะแนนเสียงแบบสั้น (Short Ballot) บัตรลงคะแนนเสียงแบบยาวบางครั้งรียกว่า “Bedsheet Ballot” หรือ “Jungle Ballot” บัตรลงคะแนนเสียงแบบยาวจะมีรายชื่อของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งโดยทั่วไปในหลายๆมลรัฐและในหลายท้องถิ่นมีเรื่องที่ต้องเพิ่มเติมลงไปมาก ส่วนบัตรลงคะแนนเสียงแบบสั้นมีเรื่องไม่มาก ในการเลือกตั้งระดับชาติบัตรลงคะแนนเสยงแบบสั้นใช้ออกเสียงเพื่อเลือกประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาสูง แต่บัตรลงคะแนนแบบสั้นนี้ก็ใช้ในการเลือกตั้งของมลรัฐด้วย นักวิชาการมองเห็นว่าบัตรลงคะแนนเสียงแบบยาวของบัตรจะทำให้ผู้ออกเสียงละเลยไม่ออกเสียงเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งในลำดับท้ายๆ เนื่องจากคุณสมบัติของผู้สมัครไม่ได้ หรืออาจจะเลือกแบบเดา เป็นต้น


วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2552

บทวิเคราะห์ครั้งที่ 2

บทวิเคราะห์ครั้งที่ 2
เปรียบเทียบประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย
คิดอย่างไร?... หากประเทศไทยมีการปกครองเช่นสหรัฐอเมริกา








นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ ...นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย (ซ้าย)กับ Barack Obama ประธานาธิบดีคนที่ 44 ของประเทศสหรัฐอเมริกา (ขวา)ย้ำนะคะ..! ประเทศไทยกับตำแหน่งนายกรรัฐมนตรีเป็นผู้นำในการบริหารประเทศ กับ ตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกาในการเป็นผู้นำบริหารประเทศ

หลายปีกับการเป็นคนไทย เกิด และดำเนินชีวิตอยู่บนผืนแผ่นดินไทย เราต่างก็ทราบกันอยู่แล้วว่าระบบการปกครองในประเทศไทยนั้น เป็นการปกครองในระบอบประชาธิบไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและมีพระราชอำนาจอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำในการบริหารประเทศ พระมหากษัตรย์จะใช้อำนาจนิติบัญญัติมีรัฐสภาซึ่งมีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นองค์กรบริหารอำนาจ อำนาจบริหารมีนายกรัฐมนตรีซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ตามคำกราบบังคมทูลของประธานรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารอำนาจ และอำนาจตุลาการมีศาลซึ่งประกอบด้วยศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครองเป็นองค์กรบริหารอำนาจ มีการปกครองแบบการกระจายอำนาจ ซึ่งเราจะเห็นได้จากการการมีสิทธ์เลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมในทางการเมืองของประชาชนนั่นเอง...

การมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำบริหารประเทศของไทยนั้น ย่อมต่างกันอยู่แล้ว กับการมีประธานาธิบดีเป็นผู้นำในการบริหารประเทศของสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว มีพื้นที่เล็ก ประชาชนน้อย ดังนั้นการที่จะทำอะไร หรือจะบริหาร จะพัฒนาอะไรนั้น ย่อมทำได้อย่างฉับไว (จริงหรือป่าว) เพราะเพียงแค่ผ่านรัฐสภา ... ทุกอย่างก็ดำเนินการได้อย่างเต็มที่

แต่ในทางตรงกันข้าม ประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีพื้นที่ที่กว้างใหญ่กว่าประเทศไทยมาก และการที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ประชาชนมาก ย่อมส่งผลต่อการปกครองภายในประเทศอยู่แล้ว จึงทำให้การที่จะให้บริหารประเทศคล้ายกับประเทศไทย โดยมีรัฐบาลกลางเพียงรัฐบาลเดียวนั้นเป็นได้อย่างยากลำบาก ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีรัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อสะดวกต่อการดำเนินงาน และการพัฒนาประเทศ โดยรัฐบาลท้องถิ่นนั้นก็จะมีผู้ว่าการมลรัฐนั้นเป็นผู้นำในการบริหารท้องถิ่นนั้นๆ โดยที่ในบางเรื่องเช่น เรื่องการเก็บภาษี นั้น รัฐบาลกลางจะไม่สามารถเข้าไปกำหนดได้ สิ่งที่รัฐบาลกลางสามารถทำได้ก็คือ ด้านการศึกษา การประกาศสงคราม และเรื่องเศรษฐกิจ ที่รัฐบาลกลางจะเป็นผู้กำหนด

แต่ไม่ว่าจะปกครองกันแบบไหน รูปแบบใด บทสรุปทั้งหลายก็เพียงเพื่อให้ประเทศของตนพัฒนาและดำเนินต่อไปด้วยความสุข


ปัญหาชวนคิด !... หากประเทศไทยมีการปกครองเฉกเช่นเดียวกับอเมริกา(แต่ยังคงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของจิตใจคนไทย) เปรียบแต่ละจังหวัด คือมลรัฐ ให้มีการบริหารกันเอง แต่มีรัฐบาลกลางตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องส่วนใหญ่ของประเทศ (ทุกจังหวัด) เพียงแค่เรื่องการศึกษา เศรษฐกิจ และการทำสงคราม นอกนั้นให้ภายในจังหวัดแต่ละจังหวัด เป็นผู้บริหารกันเอง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เปรียบได้กับผู้ว่าการมลรัฐ เป็นผู้นำในการบริหารจังหวัดของตน คุณมีความคิดเห็นอย่างไร ?

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

การเลือกตั้งระดับมลรัฐ

การเลือกตั้ง

(Election)





การเลือกตั้งตำแหน่งทางการเมืองการปกครอง

2.การเลือกตั้งระดับมลรัฐ (State Government)



การปกครองของมลรัฐแบ่งออกเป็น 3ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ทั้งนี้มีบทบัญญัติไว้แน่นอนในรัฐธรรมนูญของมลรัฐ ซึ่งมลรัฐส่วนมากจะมีรูปแบบการปกครองคล้ายคลึงกับรัฐบาลกลาง


1)ฝ่ายนิติบัญญัติ

- สภานิติบัญญัติของมลรัฐประกอบด้วย 2 สภาคือ สภาสูง (Senate) และสภาผู้แทนราษฎร
(House of Representative)
เช่นเดียวกับรัฐบาลกลาง ยกเว้นมลรัฐเนบลาสก้า (Nebraska) เท่านั้นที่มีเพียงสภาเดียว
- ผู้ที่มีคุณสมบัติสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติของมลรัฐได้นั้น จะต้องมีฐานะเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง (Voter) เสียก่อน และประชาชนจะเป็นผู้เลือกผู้แทนดังกล่าว
- สภาผู้แทนราษฎรของมลรัฐจะได้รับเลือกตั้งตามบทบัญญัติของกฎหมายมลรัฐ ผู้สมัครรับเลือกตั้งในแต่ละมลรัฐได้รับการเสนอชื่อ (nominate) ในการประชุมพรรคของมลรัฐ (State Convention) ของแต่ละพรรค หรือในการหยั่งเสียงเลือกตั้ง (Primary)และได้รับเลือกตั้งจากประชาชนโดยการสนับสนุนของพรรค


2)ฝ่ายบริหาร


ในทุกมลรัฐจะมีผู้ว่าการมลรัฐ (Governor) เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารตำแหน่งผู้ว่าการมลรัฐ จะได้รับเลือกโดยตรงจากประชาชน
โดยทั่วไปผู้ว่าการมลรัฐมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4ปี ยกเว้นมลรัฐแฮมเชีย (New Hampshire) มลรัฐเวอร์มองท์ (Vermont) และมลรัฐโรดไอส์แลนด์ (Rhode Island) ซึ่งมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 2ปี มลรัฐส่วนใหญ่จะจำกัดวาระการดำรงตำแหน่ง 1วาระ 2วาระ หรือ 3วาระ มีเพียง 18 มลรัฐที่มิได้จำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของผู้ว่าการมลรัฐ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ว่าการมลรัฐอิลลินอยส์ (Illinois) เจมส์ ทอมสัน (James Thomson) ซึ่งสังกัดพรรครีพับลิกันดำรงตำแหน่งผู้ว่าการมลรัฐ 3 วาระครึ่ง คือตั้งแต่ปี ค.ศ.1977-1991 เป็นต้น ในการเลือกตั้งผู้ว่าการมลรัฐจะเลือกตั้งในปีที่ไม่มีการเลือกตั้งของรัฐบาลกลาง หรือในปีที่ไม่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการมลรัฐอาจลาออกเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี หรือสมาชิกสภาสูง และส่วนใหญ่ผู้ว่าการมลรัฐใหญ่จะมีโอกาสได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีหรือสมาชิกสภาสูง แสดงให้เห็นว่าการได้เป็นผู้ว่าการมลรัฐใหญ่จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งสูงขึ้นไปในระดับชาติ
ในการคัดเลือกเพื่อเสนอชื่อผู้ว่าการมลรัฐนั้น ผู้ถูกเสนอชื่อส่วนใหญ่จะได้มาจากการหยั่งเสียงเลือกตั้งของพรรค เมื่อแต่ละพรรคได้ผู้สมัครแล้วขั้นต่อไปคือการเลือกตั้งทั่วไป โดยปกติแล้วในการเลือกตั้งใช้คะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ตัดสิน

2)ฝ่ายตุลาการ

เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรมของมลรัฐหรือผู้พิพากษาของศาลมลรัฐนั้นส่วนมากได้รับการเลือกโดยประชาชนและอยู่ในตำแหน่งภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่มีบางมลรัฐที่ผู้พิพากษาของศาลมลรัฐได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าการมลรัฐ แต่บางมลรัฐก็ใช้วิธีการแต่งตั้งและเลือกตั้งทั้งนี้โดยผู้ว่าการมลรัฐแต่งตั้งผู้พิพากษาต่อไปอีกหรือไม่ ถ้าหากจะเป็นต่อต้องสมัครเป็นผู้พิพากษาโดยการเลือกตั้งจากประชาชน

การเลือกตั้งสมาชิกสภาคองเกรส



การเลือกตั้ง

(Election)


การเลือกตั้งตำแหน่งทางการเมืองการปกครอง




1. การเลือกตั้งระดับชาติ

2) การเลือกตั้งสมาชิกสภาคองเกรส

สภาคองเกรสสหรัฐอเมริกาประกอบด้วย 2 สภาคือ สภาสูง(Senate) และสภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) สภาสูงมีจำนวนมาชิกทั้งสิ้น 100 คน ซึ่งมาจากมลรัฐละ 2 คน สมาชิกสภาสูงมีวาระในการดำรงตำแหน่งเทอมละ 6 ปี และ 1 ใน 3 ของสมาชิกสภาสูงจะต้องเลือกตั้งใหม่ทุก 2 ปี ส่วนสภาผู้แทนสภาราษฎร มีจำนวนมาชิกทั้งสิ้น 438 คน โดยมาจากสัดส่วนจำนวนประชากรของแต่ละมลรัฐมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เท่ากัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระในการดำรงตำแหน่งเทอมละ 4 ปี โดยจะมีการเลือกตั้งใหม่ครึ่งหนึ่งในทุกๆ 2 ปี จำนวนสมาชิกทั้ง 2 สภาของสหรัฐอเมริกามีจำนวนทั้งสิ้น 538 คน


(1) การเลือกตั้งสมาชิกสภาสูง (Senators)

ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาสูง ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปี และเป็นพลเมืองของสหรัฐอเมริกา
อย่างน้อย 9 ปีก่อนวันเลือกตั้ง โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีกำเนิดในสหรัฐอเมริกาและจะต้องเป็นผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในมลรัฐที่ตนสมัครรับเลือกตั้ง 90 วันก่อนวันเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคเสียก่อนที่เรียกกันว่า “การเลือกตั้งขั้นต้น” (Primary Election) เป็นการเลือกตั้งเพื่อหยั่งเสียงก่อน แล้วจึงจะได้ผู้แทนของพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งสมาชิกสภาสูงต่อไป

ในการหยั่งเสียงเลือกตั้งจะมีลักษณะ 2 แบบ คือ

- การหยั่งเสียงเลือกตั้งแบบปิด ( Closed Primaries) ผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน (Voter) จะมาใช้สิทธิลงคะแนนในพรรคการเมืองที่ตนสังกัดอยู่ โดยผู้ที่มีสิทธิลงคะแนนจะประกาศการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ตนสังกัดอยู่ตั้งแต่การลงทะเบียนเลือกตั้ง หรือในบางมลรัฐที่เล็กก็ไม่จำเป็นต้องมาลงทะเบียนเพียงแต่มาปรากฏตัวที่คูหาเลือกตั้งในวันที่ใช้สิทธิเลือกตั้งเท่านั้น

- การหยั่งเสียงเลือกตั้งแบบเปิด (Open Primaries) โดยผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนจะไม่ประกาศการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ตนสังกัดอยู่ และสามารถเลือกผู้สมัครจากพรรคการเมืองใดก็ได้ โดยที่ตนไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมืองนั้น

ในกรณีที่ตำแหน่งว่างลงในสภาสูงก่อนครบวาระ โดยปกติแล้วผู้ว่าการมลรัฐนั้นจะเป็นผู้แต่งตั้งผู้มาดำรงตำแหน่งแทนเป็นการชั่วคราว และจะจัดการเลือกตั้งซ่อมซึ่งเป็นไปตามที่สภานิติบัญญัติของแต่ละมลรัฐกำหนด



(2) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (Member of House of Representatives)

ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี ต้องเป็นพลเมืองสหรัฐอเมริกาอย่างน้อย 7 ปี ก่อนการเลือกตั้งและไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลที่มีกำเนิดในสหรัฐอเมริกา และต้องเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ที่ตนจะสมัครรับเลือกตั้ง 90 วัน ก่อนการเลือกตั้ง
ผู้ที่จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จะต้องได้รับการเสนอชื่อในการหยั่งเสียงเลือกตั้งเช่นเดียวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาสูง

ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงก่อนครบวาระต้องมีการเลือกตั้งซ่อมพิเศษ
ซึ่งการเลือกตั้งซ่อมนี้ให้เป็นไปตามที่สภานิติบัญญัติของมลรัฐกำหนด





วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552

การเลือกตั้งประธานาธิบดี

การเลือกตั้ง

(Election)



การเลือกตั้งตำแหน่งทางการเมืองการปกครอง

ตามหลักของระบบสหพันธรัฐที่ปรากฎในรัฐธรรมนูญ ได้แยกอำนาจการปกครองออกเป็น 2 ระดับคือ รัฐบาลระดับชาติ (National Government) และรัฐบาลระดับมลรัฐ(Several State Government) ซึ่งชาวอเมรกันเรียกว่า “ระบบสหพันธรัฐ” (Federal System) หมายถึง การปกครองร 2 ระดับ ดังกล่าวแต่บางครั้งเมื่อกล่าวถึงรัฐบาลสหพันธรัฐ (Federal Government) ความหมายที่แท้จริงก็คือรัฐบาลระดับชาติ(National Government)นั่นเอง

1.การเลือกตั้งระดับชาติ ( Federal Government)

การเลือกตั้งตำแหน่งทางการเมืองในระดับชาติหรือรัฐบาลกลางแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การเลือกตั้งประธานาธิบดี และการเลือกตั้งสมาชิกสภาคองเกรส

1)การเลือกตั้งประธานาธิบดี ( Presidential Election)

(1)การเสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี (Nomination the President : The Primaries)
กระบวนการเสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ การหยั่งเสียงขั้นต้นในการหาชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งของแต่ละพรรค (President Primary) ซึ่งผู้สมัครที่ได้รับการคัดเลือกจะไปประชุมพรรคการเมืองในระดับชาติเพื่อทำการตัดสินว่าผู้ใดจะเป็นผู้แทนของพรรคเข้าสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี
ก. การหยั่งเสียงแบบปิด (Closed Primary) ปิดให้เฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนเป็นสมาชิกพรรคเท่านั้นที่มีสิทธิเข้ามาหยั่งเสียง
ข. การหยั่งเสียงแบบเปิด (Open Primary) เปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกผู้สมัครของพรรคใดก็ได้ตามความต้องการของตน
ค. การหยั่งเสียงแบบแบล็งเค็ท (Blanket Primary) เป็นการหยั่งเสียงแบบปิดอีกลักษณะหนึ่งที่ผู้ออกเสียงสามารถออกเสียงให้แก่ ผู้สมัครรับเลือกตั้งจากพรรคการเมืองได้มากกว่าหนึ่งพรรค
ง. การหยั่งเสียงแบบรันออฟ (Run-off Primary) บางมลรัฐมีการหยั่งเสียง 2 ระบบ ถ้าไม่มีผู้สมัครรรับเลือกตั้งคนใดได้รับเสียงข้างมากของการออกเสียงในการหยั่งเสียงครั้งแรก ผู้สมัครรับเลือกตั้งสองคนที่ได้รับคะแนนสูงสุดต้องแข่งขันกันอีกครั้งในการหยั่งเสียงครั้งต่อไปซึ่งเรียกว่า “Run-off Primary”

(2)การประชุมใหญ่ระดับชาติ (National Convention)
การประชุมระดับชาติเป็นการคัดเลือกผู้เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่มั่นใจว่าจะได้รับชัยชนะในการลงคะแนนเสียงครั้งแรก (the first ballot)
จุดมุ่งหมายของการประชุมระดับชาติ
ประการแรก เพื่อเลือกผู้แทนของพรรคส่งเข้าสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี
ประการที่สอง เพื่อร่างนโยบายของพรรคในการรณรงค์เลือกตั้ง เช่น นโยบายเกี่ยวกับภายในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น

(3)การเลือกตั้งโดยคณะผู้เลือกตั้ง
จำนวนทั้งหมดของผู้มีสิทธิเลือกตั้งประธานาธิบดีในคณะผู้เลือกตั้ง คือ 538 คน ประกอบด้วย สมาชิกสภาสูง 100 คน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 435 คน และอีก 3 คนมาจากดิสทริกท์ ออฟ โคลัมเบีย (District of Columbia) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสหรัฐอเมริกาหรือที่เรียกว่าวอชิงตัน ดี.ซี (Washington D.C.)
การคัดเลือกสมาชิกคณะผู้เลือกตั้ง สมาชิกคณะผู้เลือกตั้งจะต้องไม่เป็นสมาชิกสภาสูงหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเจ้าหน้าที่ในองค์การของรัฐและรัฐวิสาหกิจ บัญชีรายชื่อผู้สมัครเป็นสมาชิกคณะผู้เลือกตั้ง (State of President Elector) จะปรากฏในบัตรเลือกตั้งตามพรรคการเมืองที่ประชาชนจะลงคะแนนเสียงให้ โดยประชาชนจะต้องลงคะแนนเสียงแบบเป็นทีมจะเลือกเป็นรายบุคคลไม่ได้
การลงคะแนนเสียงของคณะผู้เลือกตั้ง คณะผู้เลือกตั้งทรงสิทธิที่จะลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครคนใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องลงคะแนนเสียงให้แก่ผู้สมัครที่สังกัดพรรคเดียวกับตน
ผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี จะต้องได้รับคะแนนเกินกึ่งหนึ่งของคณะผู้เลือกตั้ง หรือ 270 คะแนนขึ้นไป ตามรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา ในกรณีที่ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดได้รับเสียงข้างมากจากคณะผู้เลือกตั้ง การเลือกตั้งประธานาธิบดีจะถูกตัดสินโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยเลือกจาผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ได้คะแนนสูงสุด 3 คน (ตัดสินจากคะแนนเสียงข้างมากของตัวแทนแต่ละมลรัฐ โดยแต่ละมลรัฐมี 1 เสียง) ส่วนการคัดเลือกรองประธานาธิบดีจะถูกตัดสินโดยสมาชิกสภาสูงซึ่งคัดเลือกระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้คะแนนสูงสุด 2 คน สมาชิกสภาสูงแต่ละคนมีหนึ่งเสียง
บทบาทของคณะผู้เลือกตั้ง คณะผู้เลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละมลรัฐถูกจำกัดให้ลงคะแนนเลือกตั้งเฉพาะสำหรับผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในนามพรรคของตนที่ได้รับเสียงข้างมากจากประชาชนเท่านั้น
การลงคะแนนเสียงของคณะผู้เลือกตั้ง ถ้าประชาชนในมลรัฐใดลงคะแนนเสียงข้างมากให้แก่ผู้สมัครคนใด ผู้สมัครที่ได้รับเสียงข้างมากจากมลรัฐนั้น (A Plurality) ก็จะได้คะแนนเสียงของคณะผู้เลือกตั้งจากมลรัฐทั้งหมดหมายความว่า “ผู้ชนะได้คะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งในมลรัฐทั้งหมด”

จากการเลือกตั้งดังกล่าวทำให้ในบางโอกาสมีความเป็นไปได้ที่ผู้ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแต่ไม่ได้รับเสียงข้างมากจากประชาชน ดังนั้นจึงมีประธานาธิบดีที่ชนะการเลือกตั้งจากคณะผู้เลือกตั้งแต่ได้รับเสียงข้างน้อยจากประชาชนเป็นจำนวนมากในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา


และทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลย่อๆเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ใครมีความคิดเห็นกันอย่างไรก็สามารถนำมาเสนอแลกเปลี่ยนกันนะคะ... และต่อไปจะเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาคองเกรส จะมีวิธีการและรูปแบบแบบใดต้องคอยติดตามกันนะคะ

วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2552

บทวิเคราะห์ครั้งที่ 1

บทวิเคราะห์ ครั้งที่ 1

เปรียบเทียบประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย
ต่างกันไหม?...กับจุดประสงค์การมีส่วนร่วมในทางการเมือง



จาก..สหรัฐอเมริกา ดินแดนแห่งเสรีภาพ กับ ประเทศไทย ... บ้านเกิดเมืองนอนของใครอีกหลายคน แม้ทั้งสองประเทศจะอยู่คนละซีกโลก เวลาต่างกันหลายชั่วโมง เชื้อชาติ สีผิว และวัฒนธรรมหลายๆอย่างที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่สิ่งหนึ่งที่ใครหลายๆคนคิดรวมถึงดิฉันเองที่คิดว่าการมีส่วนร่วมในทางการเมืองนั้นไม่ต่างกันมากนัก

โดยที่ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทยต่างเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ถึงแม้จะมีรูปแบบการปกครองที่แตกต่างกัน คือ ประเทศสหรัฐอเมริกามีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐโดยมีประธานาธิบดีเป็นผู้นำประเทศและเป็นหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งต่างจากประเทศไทยที่ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาควบคู่ไปกับระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่ก็มีระบอบประชาธิปไตยเป็นพื้นฐาน ถึงแม้ว่าการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกามีความแตกต่างกับประเทศไทยอยู่บ้าง แต่ก็มีจุดประสงค์เหมือนกันคือให้ประชาชนมีส่วนร่วม เข้ามามีบทบาท เข้ามามีสิทธ์ในการเลือกผู้นำประเทศ มาเป็นตัวแทนบริหารพัฒนาบ้านเมือง

"จุดประสงค์เหมือนกันคือให้ประชาชนมีส่วนร่วม เข้ามามีบทบาท เข้ามามีสิทธ์ในการเลือกผู้นำประเทศ"... หรือ พูดง่ายๆก็คือ ความต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมือง ... แต่ ไม่รู้ว่าจะทำได้มากน้อยแค่ไหน เพราะคำว่า ... "จุดประสงค์" อาจจะเป็นคำพูดที่ดูสวยหรูให้ดูว่ามีการปกครองประชาธิบไตย แต่สำหรับการปฏิบัติจริงก็ต้องตามดูต่อไป

แต่สำหรับคุณเองเล่า คิดว่า ณ เวลานี้ จุดประสงค์การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมืองระหว่างสองประเทศนี้ ... ต่างหรือเหมือนกันหรือไม่



ความนำ

การเลือกตั้ง

(Election)


ความนำ
ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศและเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร ซึ่งวัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่งของประเทศที่มีการปกครองระบอบนี้ คือ การเลือกตั้งผู้ปกครองประเทศ เนื่องจากการใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนเป็นการแสดงออกถึงการเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย (The Sovereign) และการมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political Participation) ของประชาชน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญประการหนึ่งของระบบประชาธิปไตย
การเลืกตั้งในสหรัฐอเมริกาได้มีขึ้นตั้งเต่สมัยที่ยังเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรอยู่ โดยเฉพาะการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติของอาณานิคมได้มีขึ้นในทุกอาณานิคม และเป็นการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง

หลังจากที่สหรัฐอเมริกาได้ประกาศอิสระภาพในปี ค.ศ. 1776 มลรัฐทั้ง 13 มลรัฐได้รวมตัวกันเป็นสมาพันธรัฐ (Confederation) และต่อมาในปี ค.ศ. 1787 ได้เปลี่ยนการปกครองจากระบบสมาพันธรัฐมาเป็นระบบสหพันธรัฐ (Federal System ) ผู้แทนจากทุกมลรัฐ ยกเว้นโรดไอแลนด์ (Rhode Island) ได้มาชุมนุมกันที่เมืองฟิลาเดลเฟีย ( Philadelaphia ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญของสมาพันธรัฐให้เหมาะสมกับการปกครองประเทศยิ่งขี้น ซึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเลือกตั้งโดยตรง คือ ให้มีสภาสูง (Senate) ที่มีผู้แทนมาจากมลรัฐต่างๆ และสภาผู้แทนราษฎร ( House of Representative) โดยสามชิกมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งกำหนดจากสัดส่วนประชาชนในแต่มลรัฐ ส่วนการเลือกตั้งประธานาธิบดีใช้ระบบการเลือกตั้งผ่านคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College)

การเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาแบ่งออกเป็น 2 ระดับคือการเลือกตั้งทั้งระดับชาติหรือรัฐบาลกลางและการเลือกตั้งระดับมลรัฐ โดยทั้ง 2 ระดับจะมีรูปแบบคล้ายคลึงกันทั้งการเลือกตั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ อย่างไรก็ตามทั้งหลักการและรูปแบบการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาได้มีการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดมา จึงเป็นกระบวนการที่น่าสนใจแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง อาทิเช่น การอนุญาติให้สตรีมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น
ในการเลือกตั้งนั้นอาจกล่าวได้ว่าประชาชนชาวอเมริกันมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเลือกผู้แทนของตนเพื่อทำหน้าที่ในการปกครองประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกตั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งในระดับชาติ ระดับมลรัฐ และระดับท้องถิ่น เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิในการบริหารประเทศอย่างกว้างขวาง

การเลือกตั้งจึงเป็นกระบวนการทางการเมืองที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาในการแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของความสำเร็จในการพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจของโลก ณ ที่นี้เราจะกล่าวถึงสาระสำคัญต่างๆ ได้แก่ การเลือกตั้งตำแหน่งทางการเมือง กฎหมายเลือกตั้งและการออกเสียงเลือกตั้ง บัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การนับคะแนนเสียง การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง การเลือกตั้งของประชาชนในสหรัฐอเมริกา และรูปแบบวิธีการสนับสนุนการเลือกตั้ง

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552

คณะผู้จัดทำ


ชื่อ : นางสาว กนกวรรณ ตุลารักษ์
รหัสนักศึกษา : 5131007002
สำนักวิชา : ศิลปะศาสตร์
สาขาวิชา : ภาษาจีนธุรกิจ



ชื่อ : นางสาว กฤติกา ทรัพย์สินชัย
รหัสนักศึกษา : 5131007006
สำนักวิชา : ศิลปะศาสตร์
สาขาวิชา : ภาษาจีนธุรกิจ



ชื่อ : นางสาว จารุนาฏ บุตรแสงดี
รหัสนักศึกษา : 5131007012
สำนักวิชา : ศิลปศาสตร์
สาขาวิชา : ภาษาจีนธุรกิจ



ชื่อ : นางสาว ดวงกมล คุ้มพวง
รหัสนักศึกษา : 5131007032
สำนักวิชา : ศิลปศาสตร์
สาขาวิชา : ภาษาจีนธุรกิจ



ชื่อ : นางสาว วรารัตน์ ริดจูงพืช
รหัสนักศึกษา : 5131007082
สำนักวิชา : ศิลปศาสตร์
สาขาวิชา : ภาษาจีนธุรกิจ




ชื่อ : นาย กฤษตินัย วงศ์หิรัญสมบัติ
รหัสนักศึกษา : 5131007115
สำนักวิชา : ศิลปศาสตร์
สาขาวิชา : ภาษาจีนธุรกิจ