วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2552

ความนำ

การเลือกตั้ง

(Election)


ความนำ
ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศและเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร ซึ่งวัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่งของประเทศที่มีการปกครองระบอบนี้ คือ การเลือกตั้งผู้ปกครองประเทศ เนื่องจากการใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนเป็นการแสดงออกถึงการเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย (The Sovereign) และการมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political Participation) ของประชาชน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญประการหนึ่งของระบบประชาธิปไตย
การเลืกตั้งในสหรัฐอเมริกาได้มีขึ้นตั้งเต่สมัยที่ยังเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรอยู่ โดยเฉพาะการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติของอาณานิคมได้มีขึ้นในทุกอาณานิคม และเป็นการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง

หลังจากที่สหรัฐอเมริกาได้ประกาศอิสระภาพในปี ค.ศ. 1776 มลรัฐทั้ง 13 มลรัฐได้รวมตัวกันเป็นสมาพันธรัฐ (Confederation) และต่อมาในปี ค.ศ. 1787 ได้เปลี่ยนการปกครองจากระบบสมาพันธรัฐมาเป็นระบบสหพันธรัฐ (Federal System ) ผู้แทนจากทุกมลรัฐ ยกเว้นโรดไอแลนด์ (Rhode Island) ได้มาชุมนุมกันที่เมืองฟิลาเดลเฟีย ( Philadelaphia ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญของสมาพันธรัฐให้เหมาะสมกับการปกครองประเทศยิ่งขี้น ซึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเลือกตั้งโดยตรง คือ ให้มีสภาสูง (Senate) ที่มีผู้แทนมาจากมลรัฐต่างๆ และสภาผู้แทนราษฎร ( House of Representative) โดยสามชิกมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งกำหนดจากสัดส่วนประชาชนในแต่มลรัฐ ส่วนการเลือกตั้งประธานาธิบดีใช้ระบบการเลือกตั้งผ่านคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College)

การเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาแบ่งออกเป็น 2 ระดับคือการเลือกตั้งทั้งระดับชาติหรือรัฐบาลกลางและการเลือกตั้งระดับมลรัฐ โดยทั้ง 2 ระดับจะมีรูปแบบคล้ายคลึงกันทั้งการเลือกตั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ อย่างไรก็ตามทั้งหลักการและรูปแบบการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาได้มีการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดมา จึงเป็นกระบวนการที่น่าสนใจแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง อาทิเช่น การอนุญาติให้สตรีมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น
ในการเลือกตั้งนั้นอาจกล่าวได้ว่าประชาชนชาวอเมริกันมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเลือกผู้แทนของตนเพื่อทำหน้าที่ในการปกครองประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกตั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งในระดับชาติ ระดับมลรัฐ และระดับท้องถิ่น เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิในการบริหารประเทศอย่างกว้างขวาง

การเลือกตั้งจึงเป็นกระบวนการทางการเมืองที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาในการแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของความสำเร็จในการพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจของโลก ณ ที่นี้เราจะกล่าวถึงสาระสำคัญต่างๆ ได้แก่ การเลือกตั้งตำแหน่งทางการเมือง กฎหมายเลือกตั้งและการออกเสียงเลือกตั้ง บัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การนับคะแนนเสียง การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง การเลือกตั้งของประชาชนในสหรัฐอเมริกา และรูปแบบวิธีการสนับสนุนการเลือกตั้ง

5 ความคิดเห็น:

  1. ในความคิดเรานะ...ส่วนใหญ่ก้อมีการปกครองในระบบประชาธิบไตย

    แต่ไม่รู้ว่าเปนประชาธิบไตยแต่คำพูดหรือป่าว

    ...ต้องดูที่การกระทำ

    แต่เราว่านะ อเมกา คงมีประชาธิบไตยที่ทั้งคำพูดและการกระทำ

    ตอบลบ
  2. คือ.. เราสงสัยว่ากระบวนการการเลือกตั้งของไทยกับของอเมริกา

    จะมีเหมือนกันมั๊ย

    ตอบลบ
  3. โดยส่วนตัวชอบ ประชาธิปไตย แบบ อเมริกานะ

    จะรอ ดู ผลงานของประธานาธิบดีคนใหม่ต่อไป

    ตอบลบ
  4. ตั้งใจจะพิมพ์ให้เก็ท แต่บล็อกนี้ดันจำกัดคำเสียอีก
    เซ็งนะ

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล

    ตอบลบ