วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552

การเลือกตั้งของประชาชนในสหรัฐอเมริกา

การเลือกตั้ง

(Election)



การเลือกตั้งของประชาชนในสหรัฐอเมริกา

การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เป็นการแสดงออกของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการเลือกผู้นำของตน กฎหมายอเมริกาให้สิทธิแก่คนอเมริกาในการออกเสียงเลือกตั้ง ตัวอย่างเช่น ในปีค.ศ. 1978 มีผู้ไปออกเสียงเลือกตั้งเพียง1 ใน 3 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาสูงและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น
รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ขยายสิทธิในการเลือกตั้งแก่ประชาชนชาวอเมริกา ซึ่งจะเห็นได้จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 15 ที่ให้สิทธิการเลือกตั้งแก่คนผิวดำ การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 16 ให้สิทธิแกสตรีในการเลือกตั้ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 26 ให้สิทธิแก่ประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปมีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง แสดงว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกาสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองกว้างขวางมากขึ้น ประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งต้องไปลงทะเบียนก่อนถึงมีสิทธิลงคะแนนเสียงได้ การลงทะเบียนคือการลงชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง โดยผู้ลงทะเบียนต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด


1. คุณสมบัติของประชาชนที่มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง
1) เป็นพลเมืองหรือ สัญชาติอเมริกันเท่านั้น
2) มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์
3) อยู่ในท้องถิ่นระยะเวลาพอสมควรในปี ค.ศ. 1970 สภาคองเกรสได้บัญญัติกฎหมายทีที่เกี่ยวกับการออกเสียงเลือกตั้ง คือให้ผู้มีสิทธิออกเสียงต้องมีถิ่นที่อยู่อาศัยในเขตเลือกตั้งนั้น 30 วัน ต่อมาปี ค.ศ. 1973 ศาลสูงแก้เป็น50 วัน
4) ต้องไปลงทะเบียนแสดงเจตจำนงออกเสียงเลือกตั้งภายในเวลาที่แต่ละมลรัฐกำหนด ส่วนใหญ่คือ 54 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง ณ หน่วยเลือกตั้งของตน


5) แต่ละมลรัฐจะกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเป็นของตัวเอง



2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
1) อายุ อายุมากขึ้นมีแนวโน้มมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น


2) การศึกษา โดยทั่วไปผู้มีการศึกษาสูงจะมีแนวโน้มไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่า

3) สถานะทางสังคมและรายได้ ปัจจัยเกี่ยวกับสถานะทางสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อชาติมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ความแตกต่างของรายได้ของประชาชนผู้ที่มีรายได้สูงไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่าผู้มีรายได้น้อย
4) การแข่งขันระหว่างพรรคการเมือง 2 พรรค มลรัฐที่มีการแข่งขันสูง มีอัตราการใช้สิทธิเลือกตั้งสูง โดยส่วนใหญ่ที่ผ่านมาพรรครีพับลิกันได้คะแนนสูงกว่าพรรคเดโมแครท




3. ปัจจัยกำหนดทางเลือกของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

1.ปัจจัยทางด้านสังคม

1) การศึกษา ผู้มีการศึกษาสูงจะลงคะแนนเสียงให้กับพรรครีพับลิกัน ผู้มีการศึกษาน้อยจะลงคะแนนเสียงให้กับพรรคเดโมแครท
2) ชนชั้นทางสังคม รายได้ และอาชีพ กลุ่มชนชันสูงและชั้นกลางมักจะลงคะแนนเสียงให้กับพรรครีพับลิกัน กลุ่มคนชั้นล่างลงคะแนนเสียงให้กับพรรคเดโมแครท นักวิชาการ นักธุรกิจและผู้มีรายได้สูงจะลงคะแนนเสียงให้กับพรรครีพับลิกันมากกว่าพรรคเดโมแครท
3) ศาสนา ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์จะลงคะแนนเสียงให้กับพรรครีพับลิกัน ส่วนผู้ที่นับถือศาสนานิกายคาทอลิกลงคะแนนเสียงให้กับพรรคเดโมแครท
4) เชื้อชาติ ผู้ที่มีเชื้อชาติไอริช สลาฟ โปล และอิตาเลียน มีแนวโน้มออกเสียงให้พรรคเดโมแครท ส่วนพวกเชื้อชาติแองดกลแวกซอนและนอร์ท ยูโรเปียนมีแนวโน้มออกเสียงให้พรรครีพับลิกัน
5) เพศ การลงคะแนนเสียงระหว่างเพศเริ่มมีความแตกต่างขึ้นอยู่กับภาพลักษณ์ของพรรค และประเด็นการหาเสียง รวมทั้งความคิดทางการเมืองของเพศหญิงและชาย
6) อายุ ปีค.ศ. 1960 ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่มีอายุน้อยส่วนมากจะลงคะแนนเสียงให้กับพรรคเดโมแครท ในช่วงปี ค.ศ. 1984การเลือกตั้งประธานาธิบดีเรแกน ผู้ออกเสียงอายุต่ำกว่า 30 ปี ได้ลงคะแนนให้กับประธานาธิบดีเรแกนสูงถึงร้อยละ 60




2.ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา
1) ความผูกผันกับพรรคการเมือง ช่วงปลายปี ค.ศ. 1930 ชาวอเมริกันมักนิยมพรรคเดโมแครทความผูกผันนี้มาจาก ครอบครัว เพื่อนๆ นอกจากครอบครัวแล้วขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและการหาข้อเท็จจริงมาสนับสนุนพรรคที่ตัวเองชอบ
2) ความเข้าใจในตัวผู้สมัคร ภาพลักษณ์ของผู้สมัครมีความสำคัญต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงของผู้ใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเช่นกัน
3) ประเด็นการหาเสียง ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องตั้งประเด็นการหาเสียงที่ตรงใจกับผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเพื่อให้รับการสนับสนุน

8 ความคิดเห็น:

  1. ถ้าประเทศไทย มีระบบการเลือกตั้งที่น่าสนใจแบบนี้ก็น่าจะดีนะครับ

    เหนื่อยเหลือเกิน ที่ ต้องไปเลือกตั้งแต่ละที

    เพราะ ประเทศ เรา ไม่ได้ มีการชักจูง หรือ โฆษณา ที่ ทำให้ สนใจเลย

    แถมนักการเมืองไทย ก็ยังเน้นนโยบายฝันเฟื่องเหมือนเดิม

    ตอบลบ
  2. การเลือกตั้งแบบนี้เป็นไปได้ยากเพราะต้องดูที่จำนวนประชากรเป็นหลัก เพราะจะได้ไม่ต้องเสียทั้งเวลาและงบประมาณ อย่างเช่นในอเมริกามีประชากรประมาณ 204 ล้านคน ซึ่งจำเป็นต้องให้ประชาชนบอกว่าจะใช้สิทธิใช้เสียงหรือไม่? จะลงให้พรรคไหนเป็นสำคัญ เป็นต้นว่าเพื่อการประหยัดงบประมาณทั้งของรัฐบาลกลางและรัฐบาลมลรัฐอีกด้วย

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อวันพุธ, มกราคม 28, 2552

    เนื้อหาชัดเจนดีคร่า

    เข้าใจง่ายดี

    ตอบลบ
  5. การเลือกตั้งของอเมริกา ต้องไปลงทะเบียนแสดงเจตจำนงออกเสียงเลือกตั้ง อเมริกาคงมีการปลูกฝัง การเลือกตั้งที่ดีให้กับประชาชน ไม่อย่างนั้น คงมีคนไปลงทะเบียนน้อย

    ตอบลบ
  6. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง


    บางอย่างก็คล้ายคลึงกับประเทศไทย



    แต่คุณภาพของประชากรอาจไม่คล้ายกันเลย




    เมื่อไรการเลือกตั้งบ้านเราจะใสบริสุทธิ์สักที





    specific:::[touch]

    ตอบลบ
  7. คนอเมริกาไม่ไปออกเสียงเลือกตั้ง ต้องรับโทษอะไรบ้าง

    ตอบลบ
  8. SLOTXO เกมใหม่ปัจจุบันปี 2023 เเนะนำเกมประสิทธิภาพสูงอัพเดทใหม่ๆมีเกมส์ให้เลือกเล่นมากยิ่งกว่า 200 เกมส์ แต่ละเกมมีต้นแบบแล้วก็อัตราที่สูงเเตกแตกต่างกัน ค้ำประกันจากผู้เล่นจริง เเนวโน้มของเกม pg slot หมายถึงล้ำยุค เข้าเล่นง่ายได้เร็ว

    ตอบลบ