วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

การเลือกตั้งระดับมลรัฐ

การเลือกตั้ง

(Election)





การเลือกตั้งตำแหน่งทางการเมืองการปกครอง

2.การเลือกตั้งระดับมลรัฐ (State Government)



การปกครองของมลรัฐแบ่งออกเป็น 3ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ทั้งนี้มีบทบัญญัติไว้แน่นอนในรัฐธรรมนูญของมลรัฐ ซึ่งมลรัฐส่วนมากจะมีรูปแบบการปกครองคล้ายคลึงกับรัฐบาลกลาง


1)ฝ่ายนิติบัญญัติ

- สภานิติบัญญัติของมลรัฐประกอบด้วย 2 สภาคือ สภาสูง (Senate) และสภาผู้แทนราษฎร
(House of Representative)
เช่นเดียวกับรัฐบาลกลาง ยกเว้นมลรัฐเนบลาสก้า (Nebraska) เท่านั้นที่มีเพียงสภาเดียว
- ผู้ที่มีคุณสมบัติสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติของมลรัฐได้นั้น จะต้องมีฐานะเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง (Voter) เสียก่อน และประชาชนจะเป็นผู้เลือกผู้แทนดังกล่าว
- สภาผู้แทนราษฎรของมลรัฐจะได้รับเลือกตั้งตามบทบัญญัติของกฎหมายมลรัฐ ผู้สมัครรับเลือกตั้งในแต่ละมลรัฐได้รับการเสนอชื่อ (nominate) ในการประชุมพรรคของมลรัฐ (State Convention) ของแต่ละพรรค หรือในการหยั่งเสียงเลือกตั้ง (Primary)และได้รับเลือกตั้งจากประชาชนโดยการสนับสนุนของพรรค


2)ฝ่ายบริหาร


ในทุกมลรัฐจะมีผู้ว่าการมลรัฐ (Governor) เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารตำแหน่งผู้ว่าการมลรัฐ จะได้รับเลือกโดยตรงจากประชาชน
โดยทั่วไปผู้ว่าการมลรัฐมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4ปี ยกเว้นมลรัฐแฮมเชีย (New Hampshire) มลรัฐเวอร์มองท์ (Vermont) และมลรัฐโรดไอส์แลนด์ (Rhode Island) ซึ่งมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 2ปี มลรัฐส่วนใหญ่จะจำกัดวาระการดำรงตำแหน่ง 1วาระ 2วาระ หรือ 3วาระ มีเพียง 18 มลรัฐที่มิได้จำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของผู้ว่าการมลรัฐ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ว่าการมลรัฐอิลลินอยส์ (Illinois) เจมส์ ทอมสัน (James Thomson) ซึ่งสังกัดพรรครีพับลิกันดำรงตำแหน่งผู้ว่าการมลรัฐ 3 วาระครึ่ง คือตั้งแต่ปี ค.ศ.1977-1991 เป็นต้น ในการเลือกตั้งผู้ว่าการมลรัฐจะเลือกตั้งในปีที่ไม่มีการเลือกตั้งของรัฐบาลกลาง หรือในปีที่ไม่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการมลรัฐอาจลาออกเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี หรือสมาชิกสภาสูง และส่วนใหญ่ผู้ว่าการมลรัฐใหญ่จะมีโอกาสได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีหรือสมาชิกสภาสูง แสดงให้เห็นว่าการได้เป็นผู้ว่าการมลรัฐใหญ่จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งสูงขึ้นไปในระดับชาติ
ในการคัดเลือกเพื่อเสนอชื่อผู้ว่าการมลรัฐนั้น ผู้ถูกเสนอชื่อส่วนใหญ่จะได้มาจากการหยั่งเสียงเลือกตั้งของพรรค เมื่อแต่ละพรรคได้ผู้สมัครแล้วขั้นต่อไปคือการเลือกตั้งทั่วไป โดยปกติแล้วในการเลือกตั้งใช้คะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ตัดสิน

2)ฝ่ายตุลาการ

เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรมของมลรัฐหรือผู้พิพากษาของศาลมลรัฐนั้นส่วนมากได้รับการเลือกโดยประชาชนและอยู่ในตำแหน่งภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่มีบางมลรัฐที่ผู้พิพากษาของศาลมลรัฐได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าการมลรัฐ แต่บางมลรัฐก็ใช้วิธีการแต่งตั้งและเลือกตั้งทั้งนี้โดยผู้ว่าการมลรัฐแต่งตั้งผู้พิพากษาต่อไปอีกหรือไม่ ถ้าหากจะเป็นต่อต้องสมัครเป็นผู้พิพากษาโดยการเลือกตั้งจากประชาชน

2 ความคิดเห็น:

  1. ระบบมลรัฐถือว่ามีอำนาจหรือสิทธิขาดในแต่ละรัฐในการออกกฏหมาย แต่จะต้องไม่มีการล่วงละเมิด หรือเขียนเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนด และรัฐบาลแต่ละรัฐจะมีอำนาจในการบริหารไม่ว่าจะเป็นทะเบียนราษฏ์ ระบบประปา ระบบไฟฟ้า การบริการสังคม ระบบตุลาการอีกด้วย ส่วนอำนาจส่วนกลางคือระบบประธานาธิบดีที่เกิดขึ้น ในอเมริกาจะมีอำนาจบริหารเพียงการทหาร เศรษฐกิจมหภาค และการคลังของประเทศเท่านั้น หรือในความหมายอีกนัยหนึ่งก็คือ ส่วนกลางทำงานในด้านภาพลักษณ์ และกิจการภายนอกประเทศ ส่วนระบบมลรัฐจะทำงานในงานกิจการภายในประเทศเพียงอย่างเดียว นี้เป็นลักษณะเบื้องต้นของระบบที่ดีพอสมควรระบบหนึ่งของโลก

    ตอบลบ
  2. แล้วด้านงบประมานการคลังนี่ล่ะครับ
    มีอำนาจเด็ดขาดหรือป่าว การอนุมัติโครงการต่างในรัฐล่ะ
    เป็นอำนาจของใคร รัฐบาลสหรัฐหรือรัฐบาลมลรัฐ

    ตอบลบ