วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2552

บทวิเคราะห์ครั้งที่ 2

บทวิเคราะห์ครั้งที่ 2
เปรียบเทียบประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย
คิดอย่างไร?... หากประเทศไทยมีการปกครองเช่นสหรัฐอเมริกา








นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ ...นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย (ซ้าย)กับ Barack Obama ประธานาธิบดีคนที่ 44 ของประเทศสหรัฐอเมริกา (ขวา)ย้ำนะคะ..! ประเทศไทยกับตำแหน่งนายกรรัฐมนตรีเป็นผู้นำในการบริหารประเทศ กับ ตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกาในการเป็นผู้นำบริหารประเทศ

หลายปีกับการเป็นคนไทย เกิด และดำเนินชีวิตอยู่บนผืนแผ่นดินไทย เราต่างก็ทราบกันอยู่แล้วว่าระบบการปกครองในประเทศไทยนั้น เป็นการปกครองในระบอบประชาธิบไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและมีพระราชอำนาจอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำในการบริหารประเทศ พระมหากษัตรย์จะใช้อำนาจนิติบัญญัติมีรัฐสภาซึ่งมีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นองค์กรบริหารอำนาจ อำนาจบริหารมีนายกรัฐมนตรีซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ตามคำกราบบังคมทูลของประธานรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารอำนาจ และอำนาจตุลาการมีศาลซึ่งประกอบด้วยศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครองเป็นองค์กรบริหารอำนาจ มีการปกครองแบบการกระจายอำนาจ ซึ่งเราจะเห็นได้จากการการมีสิทธ์เลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมในทางการเมืองของประชาชนนั่นเอง...

การมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำบริหารประเทศของไทยนั้น ย่อมต่างกันอยู่แล้ว กับการมีประธานาธิบดีเป็นผู้นำในการบริหารประเทศของสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว มีพื้นที่เล็ก ประชาชนน้อย ดังนั้นการที่จะทำอะไร หรือจะบริหาร จะพัฒนาอะไรนั้น ย่อมทำได้อย่างฉับไว (จริงหรือป่าว) เพราะเพียงแค่ผ่านรัฐสภา ... ทุกอย่างก็ดำเนินการได้อย่างเต็มที่

แต่ในทางตรงกันข้าม ประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีพื้นที่ที่กว้างใหญ่กว่าประเทศไทยมาก และการที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ประชาชนมาก ย่อมส่งผลต่อการปกครองภายในประเทศอยู่แล้ว จึงทำให้การที่จะให้บริหารประเทศคล้ายกับประเทศไทย โดยมีรัฐบาลกลางเพียงรัฐบาลเดียวนั้นเป็นได้อย่างยากลำบาก ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีรัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อสะดวกต่อการดำเนินงาน และการพัฒนาประเทศ โดยรัฐบาลท้องถิ่นนั้นก็จะมีผู้ว่าการมลรัฐนั้นเป็นผู้นำในการบริหารท้องถิ่นนั้นๆ โดยที่ในบางเรื่องเช่น เรื่องการเก็บภาษี นั้น รัฐบาลกลางจะไม่สามารถเข้าไปกำหนดได้ สิ่งที่รัฐบาลกลางสามารถทำได้ก็คือ ด้านการศึกษา การประกาศสงคราม และเรื่องเศรษฐกิจ ที่รัฐบาลกลางจะเป็นผู้กำหนด

แต่ไม่ว่าจะปกครองกันแบบไหน รูปแบบใด บทสรุปทั้งหลายก็เพียงเพื่อให้ประเทศของตนพัฒนาและดำเนินต่อไปด้วยความสุข


ปัญหาชวนคิด !... หากประเทศไทยมีการปกครองเฉกเช่นเดียวกับอเมริกา(แต่ยังคงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของจิตใจคนไทย) เปรียบแต่ละจังหวัด คือมลรัฐ ให้มีการบริหารกันเอง แต่มีรัฐบาลกลางตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องส่วนใหญ่ของประเทศ (ทุกจังหวัด) เพียงแค่เรื่องการศึกษา เศรษฐกิจ และการทำสงคราม นอกนั้นให้ภายในจังหวัดแต่ละจังหวัด เป็นผู้บริหารกันเอง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เปรียบได้กับผู้ว่าการมลรัฐ เป็นผู้นำในการบริหารจังหวัดของตน คุณมีความคิดเห็นอย่างไร ?

9 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดจากกการเปรียบเทียบเหล่านี้ ถือว่าเป็นการมองได้ทั้งแง่ดีและไม่ดีอยู่ ข้อที่หนึ่งคือ การเปรียบเทียบระบบที่ไทยใช้คือผู้ว่าราชการจังหวัด และระบบที่สหรัฐใช้ก็คือผู้ว่าการรัฐ สองอย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร แตกต่างกันตรงที่ 1. การใช้อำนาจตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ คือผู้ว่าการรัฐมีสิทธิที่จะออกกฏหมายภายในรัฐได้โดยที่จะต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่ผู้ว่าฯ นั้นทำได้แต่เพียงเป็นผู้อยู่ใช้บังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเท่านั้น และมีอำนาจในการตัดสินใจได้เพียงบางเรื่องที่สำคัญและจำเป็นตามสมควรเท่านั้น
    2. ผู้ว่าฯ โดยมากจะต้องทำตามคำสั่งของราชการเป็นหลัก และไม่ได้มาจากการเลือกตั้งยกเว้น กรุงเทพมหานคร และพัทยา เพียง 2 ที่เพราะใช้พรบกทม.และ พรบพัทยา หรือพูดให้ง่ายคือ กทม.กับเมืองพัทยาเป็นเขตปกครองพิเศษที่สามารถเลือกผู้ว่าฯ ได้ ส่วนอีก 75 จังหวัดที่เหลือในประเทศผู้ว่าฯ ได้รับมอบหมายงานจากส่วนกลางให้ไปประจำอยู่ในจังหวัดต่างๆ ระยะเวลาสั้น หรือแล้วแต่กรณี
    3. ผู้ว่าการรัฐเป็นผู้ควบคุมกำกับดูแลเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในรัฐ และคนเหล่านี้จำต้องมาจากการเลือกตั้ง อย่างที่เคยเห็นหรือได้ยินจากข่าวเช่น อาร์โน ผู้ว่าคนเหล้ก ที่ผันตัวเองจากดาราฮอลลีวู้ด มาเป็นผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นต้น
    4. ขนาดพื้นที่ที่เกิดขึ้น อันนี้เป็นอีกเหตุปัจจัยหนึ่งที่ทำให้รูปแบบการปกครองของไทยและสหรัฐไม่เหมือนกันแทบจะเรียกได้ว่า "โดยสิ้นเชิง" ทั้งนี้ไม่ใช้เพราะอาณาเขตเพียงอย่างเดียว ยังขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันอเมริกามีประชากรประมาณ 204 ล้านคน ส่วยไทยนั้นมีประชากรประมาณ 63 ล้านคน เป็นจำนวนที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดดังที่ว่าไว้
    สุดท้าย 5. ความฉับไวในการบริหารงาน หรืออะไรอีกหลายๆ ปัจจัยต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนพลเมืองผู้มีสิทธิใช้เสียงในประเทศนั้นๆ เป็นหลัก ซึ่งจำเป็นต้องปลูกฝั่งมาตั้งแต่ยังเยาว์เช่น เราอาจจะปูพื้นฐานการเมืองตั้งแต่ชั้นประถม 5 หรือ 6 ก็เป็นได้ โดยที่ทำให้เข้าใจไม่ใช่เพียงวิธีการ แต่ต้องเข้าใจถึงคำว่าการปกครองกันเลยทีเดียว
    นี้เป็นเพียงข้อคิดเห็นถ้ามีอะไรผิดพลาดไปก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

    ตอบลบ
  2. ไม่สามารถ จะ นำรูปแบบการปกครอง แบบสหรัฐอเมริกามาใช้กับประเทศ ไทย ได้ ทั้งหมด

    เนื่องจาก ประเทศ ไทยยังมีพระมหากษัตริย์ และ คนในสังคม แตกแยก ออกเป็นหลาย กลุ่ม

    หาก นำรูปแบบการปกครองเช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา

    น่าจะเกิดเหตุนองเลือดขึ้นในสังคมอย่างแน่นอน. . . .

    ตอบลบ
  3. ก็น่าจะดีไปอีกแบบ จะได้ดูแลกันได้ทั่วถึง

    ตอบลบ
  4. ก็มีทั้งส่วนดีและไม่ดี
    คือ ทำให้สามารถดูแลประชาชนในพื้นที่ได้ทั่วถึง

    แต่อาจทำให้เสถียรภาพทางการเมืองสั่นคลอนได้

    ตอบลบ
  5. เราคิดว่าคงเอามาใช้กับประเทศเราไม่ได้หรอก

    ก็ดูการเมืองไทยดิวุ่นวายขนาดนี้

    ประชาชนก็ไม่ค่อยอยากจะสนใจเรื่องการเมืองเท่าไรนัก

    ถ้าจะนำมาใช้เราว่าต้องเริ่มจากการพัฒนาศักยภาพของคนไทยก่อน

    ถ้าเรามีความรู้ความเข้าใจแล้วจะทำอะไรมันก็จะง่ายขึ้น เราคิดว่างั้นนะ

    ตอบลบ
  6. ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อวันพุธ, มกราคม 28, 2552

    ขอบคุณมากนะค่ะ มีเนื้อหาละเอียดมากเและมีภาพประกอบน่ารัก ทำให้บทความน่าสนใจ น่าอ่านบางเรื่องเราก็ม่ายเคยรู้มาก่อน เช่นเรื่อง การที่ประชาชนสามารถให้เงินผู้สมัครได้ด้วย เรากำลังหาเนื้อหาเรื่องการเลือกตั้งของอเมกาอยู่พอดี ขอบคุนนะค่ะ ขอคัดลอกเนื้อหาไปทำงานหน่อยนะค่ะ

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อวันพุธ, มกราคม 28, 2552

    แย่ๆ

    ไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะเหมือนอเมริกา

    อย่างเดิมก็ดีอยู่แล้ว

    พระมหากษัตริย์ทรงเปนที่รักของทุกคน

    ตอบลบ
  9. แต่ละประเทศมีโครงสร้างและพื้นทางสังคมต่างกัน
    ความเป็นมาก็ต่างกัน เพราะฉะนั้นคนในประเทศย่อมไม่เหมือนกัน
    ประเทศไทยคงไม่แข็งแรงขนาดนั้น

    ตอบลบ