วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

การประเมินผลงานของกลุ่ม

ประเมินคะแนนผลงานของกลุ่ม
วิชา Politic and Government (100132)

เสนอ
อาจารย์ฉลองรัฐ เจริญศรี

ชิ้นงาน Blog ( Election in USA)
URL : http://eletion-usa.blogspot.com/
รายละเอียดผลงาน
นำเสนอเรื่องขั้นตอนการเลือกตั้งของประเทศสหรัฐอมริกา และนำมาเปรียบเทียบแสดงความคิดเห็นกับประเทศไทย
สมาชิกในกลุ่ม
1. ชื่อ : นางสาว กนกวรรณ ตุลารักษ์ ID : 5131007002 sec 1
2.ชื่อ : นางสาว กฤติกา ทรัพย์สินชัย ID : 5131007006 sec 1
3.ชื่อ : นางสาว จารุนาฏ บุตรแสงดี ID: 5131007012 sec 1
4.ชื่อ : นางสาว ดวงกมล คุ้มพวง ID : 5131007032 sec 1
5.ชื่อ : นางสาว วรารัตน์ ริดจูงพืช ID : 5131007082 sec 1
6.ชื่อ : นาย กฤษตินัย วงศ์หิรัญสมบัติ ID : 5131007115 sec 1
สำนักวิชา : ศิลปะศาสตร์ สาขาวิชา : ภาษาจีนธุรกิจ


ประเมินภายสมาชิกในกลุ่ม

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552

การเลือกตั้งของประชาชนในสหรัฐอเมริกา

การเลือกตั้ง

(Election)



การเลือกตั้งของประชาชนในสหรัฐอเมริกา

การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เป็นการแสดงออกของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการเลือกผู้นำของตน กฎหมายอเมริกาให้สิทธิแก่คนอเมริกาในการออกเสียงเลือกตั้ง ตัวอย่างเช่น ในปีค.ศ. 1978 มีผู้ไปออกเสียงเลือกตั้งเพียง1 ใน 3 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาสูงและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น
รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ขยายสิทธิในการเลือกตั้งแก่ประชาชนชาวอเมริกา ซึ่งจะเห็นได้จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 15 ที่ให้สิทธิการเลือกตั้งแก่คนผิวดำ การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 16 ให้สิทธิแกสตรีในการเลือกตั้ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 26 ให้สิทธิแก่ประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปมีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง แสดงว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกาสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองกว้างขวางมากขึ้น ประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งต้องไปลงทะเบียนก่อนถึงมีสิทธิลงคะแนนเสียงได้ การลงทะเบียนคือการลงชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง โดยผู้ลงทะเบียนต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด


1. คุณสมบัติของประชาชนที่มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง
1) เป็นพลเมืองหรือ สัญชาติอเมริกันเท่านั้น
2) มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์
3) อยู่ในท้องถิ่นระยะเวลาพอสมควรในปี ค.ศ. 1970 สภาคองเกรสได้บัญญัติกฎหมายทีที่เกี่ยวกับการออกเสียงเลือกตั้ง คือให้ผู้มีสิทธิออกเสียงต้องมีถิ่นที่อยู่อาศัยในเขตเลือกตั้งนั้น 30 วัน ต่อมาปี ค.ศ. 1973 ศาลสูงแก้เป็น50 วัน
4) ต้องไปลงทะเบียนแสดงเจตจำนงออกเสียงเลือกตั้งภายในเวลาที่แต่ละมลรัฐกำหนด ส่วนใหญ่คือ 54 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง ณ หน่วยเลือกตั้งของตน


5) แต่ละมลรัฐจะกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเป็นของตัวเอง



2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
1) อายุ อายุมากขึ้นมีแนวโน้มมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น


2) การศึกษา โดยทั่วไปผู้มีการศึกษาสูงจะมีแนวโน้มไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่า

3) สถานะทางสังคมและรายได้ ปัจจัยเกี่ยวกับสถานะทางสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อชาติมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ความแตกต่างของรายได้ของประชาชนผู้ที่มีรายได้สูงไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่าผู้มีรายได้น้อย
4) การแข่งขันระหว่างพรรคการเมือง 2 พรรค มลรัฐที่มีการแข่งขันสูง มีอัตราการใช้สิทธิเลือกตั้งสูง โดยส่วนใหญ่ที่ผ่านมาพรรครีพับลิกันได้คะแนนสูงกว่าพรรคเดโมแครท




3. ปัจจัยกำหนดทางเลือกของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

1.ปัจจัยทางด้านสังคม

1) การศึกษา ผู้มีการศึกษาสูงจะลงคะแนนเสียงให้กับพรรครีพับลิกัน ผู้มีการศึกษาน้อยจะลงคะแนนเสียงให้กับพรรคเดโมแครท
2) ชนชั้นทางสังคม รายได้ และอาชีพ กลุ่มชนชันสูงและชั้นกลางมักจะลงคะแนนเสียงให้กับพรรครีพับลิกัน กลุ่มคนชั้นล่างลงคะแนนเสียงให้กับพรรคเดโมแครท นักวิชาการ นักธุรกิจและผู้มีรายได้สูงจะลงคะแนนเสียงให้กับพรรครีพับลิกันมากกว่าพรรคเดโมแครท
3) ศาสนา ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์จะลงคะแนนเสียงให้กับพรรครีพับลิกัน ส่วนผู้ที่นับถือศาสนานิกายคาทอลิกลงคะแนนเสียงให้กับพรรคเดโมแครท
4) เชื้อชาติ ผู้ที่มีเชื้อชาติไอริช สลาฟ โปล และอิตาเลียน มีแนวโน้มออกเสียงให้พรรคเดโมแครท ส่วนพวกเชื้อชาติแองดกลแวกซอนและนอร์ท ยูโรเปียนมีแนวโน้มออกเสียงให้พรรครีพับลิกัน
5) เพศ การลงคะแนนเสียงระหว่างเพศเริ่มมีความแตกต่างขึ้นอยู่กับภาพลักษณ์ของพรรค และประเด็นการหาเสียง รวมทั้งความคิดทางการเมืองของเพศหญิงและชาย
6) อายุ ปีค.ศ. 1960 ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่มีอายุน้อยส่วนมากจะลงคะแนนเสียงให้กับพรรคเดโมแครท ในช่วงปี ค.ศ. 1984การเลือกตั้งประธานาธิบดีเรแกน ผู้ออกเสียงอายุต่ำกว่า 30 ปี ได้ลงคะแนนให้กับประธานาธิบดีเรแกนสูงถึงร้อยละ 60




2.ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา
1) ความผูกผันกับพรรคการเมือง ช่วงปลายปี ค.ศ. 1930 ชาวอเมริกันมักนิยมพรรคเดโมแครทความผูกผันนี้มาจาก ครอบครัว เพื่อนๆ นอกจากครอบครัวแล้วขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและการหาข้อเท็จจริงมาสนับสนุนพรรคที่ตัวเองชอบ
2) ความเข้าใจในตัวผู้สมัคร ภาพลักษณ์ของผู้สมัครมีความสำคัญต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงของผู้ใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเช่นกัน
3) ประเด็นการหาเสียง ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องตั้งประเด็นการหาเสียงที่ตรงใจกับผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเพื่อให้รับการสนับสนุน

การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง

การเลือกตั้ง


(Election)

การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง

การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองของนักการเมืองและเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมตัดสินว่าใครจะมาเป็นผู้ปกครองของตน นอกจากนี้การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งยังเป็นการให้สิทธิกับประชาชนในการกำหนดแนวโน้มของนโยบายที่จะมีผลต่อทั้งชีวิตส่วนตัวและส่วนรวมของประชาชน

กลยุทธ์การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์สูงสุด คือ การชนะการเลือกตั้งซึ่งเป็นสิ่งที่ยากที่สุด ปัญหาแรกที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องเผชิญ คือ การเลือกผู้จัดการของการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และกลุ่มผู้ทำงานร่วมทีมเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาในประเด็นปัญหาต่างๆ ทั้งทางด้านการรณรงค์หาเสียง และการวางแนวนโยบายหาเสียง ผู้จัดการและหัวหน้าที่ปรึกษาจึงมีหน้าที่รับผิดชอบวางแผนกลยุทธ์การหาเสียง ปัญหาคือการหาเงินทุนเพราะการรณรงค์หาเสียงในสหรัฐอเมริกาต้องใช้เงินมาก กลยุทธ์สำคัญในการสร้างโอกาสเพื่อการชนะการเลือกตั้ง คือการใช้ทุนน้อยทั้งในแง่งบประมาณและกำหนดการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องดำเนินการต่อไป

1. แหล่งที่มาของเงินทุนในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง การรณรงค์กาเสียงเลือกตั้งและเงินทุนในการหาเสียงเป็นสิ่งที่คู่กันในการเลือกตั้งของระบอบประชาธิปไตย การหาเงินทุนในการหาเสียงเลือกตั้งจึงเป็นสิ่งสำคัญ
2. ค่าใช้ต่ายในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ค่าใช้จ่ายในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งที่มีจุดประสงค์ถูกต้องตามกฎหมาย
3. กฎเกณฑ์ด้านการเงินในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
4. การตรวจสอบการใช้เงินในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง

ในปี ค.ศ.1974 ได้มีการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งขึ้นใหม่ โดยสาระสำคัญเกี่ยวกับมาตรการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินมีดังนี้
1) ด้วยความเห็นชอบของสภาคองเกรส ให้มีคณะกรรมการจักการเลือกตั้ง ทำหน้าที่จักระเบียบข้อกำหนดการใช้จ่ายเงินในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งตำแหน่ง ประธานาธิบดี สมาชิกสภาสูง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
2) ผู้สมัครทุกคนต้องรายงาน รายการรับเงินสนับสนุนและรายการค่าใช้จ่ายแก่รัฐบาล
3) ผู้สมัครตำแหน่งประธานาธิบดีที่ปรารถนาจะรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจะต้องใช้จ่ายเงินภายใต้วงเงินที่กำหนดไว้ตามระเบียบ
4) พรรคการเมืองระดับชาติที่ต้องการได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลจำนวน 6 ล้านเหรียญ สำหรับค่าใช้จ่ายในการประชุมระดับชาติ
5) พรรคการเมืองอาจใช้เงินในวงเงิน 7 ล้านเหรียญ สำหรับค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งตำแหน่ง ประธานาธิบดี และสมาชิกสภาคองเกรสโดยไม่รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล
6) พรรคการเมืองที่ได้รับเสียงรองลงมา ที่มีผู้ลงคะแนนเสียงให้ร้อยละ 5ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี มีสิทธิที่จะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลภายหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง
7) บุคคลหรือองค์การมีอิสระในการใช้จ่ายเงินทีไม่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์ของผู้สมัคร
8) ประชาชนสามารถให้เงินแก่ผู้สมัครในการเลือกตั้งขั้นต้น (Primary) แต่ละครั้งได้คนละ 1000 เหรียญ แต่ไม่เกิน 25000 เหรียญและในการเลือกตั้งทั่วไป (General) แต่ละครั้งไม่เกิน 50000 เหรียญ



กฎหมายการควบคุมการใช้เงินฉบับนี้ ทำให้ผู้สมัครหลายคนรวมทั้งประธานาธิบดี จิมมี่ คาร์เตอร์ ต้องถูกปรับเป็นเงินจำนวนมาก ในปีค.ศ. 1984 เนื่องจากการใช้เงินในการหาเสียงเกินจากที่กฎหมายกำหนดโดยเฉพาะข้อหาการใช้เงินจากช่องโหว่ของกฎหมาย



บทวิเคราะห์ครั้งที่ 3

บทวิเคราะห์ครั้งที่ 3
เปรียบเทียบประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย

ทำอย่างไร? ... การเลือกตั้งในประเทศไทยจึงเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมมากที่สุด


"มองเขา..มองเรา ย้อนดูตัวเอง" ณ เวลานี้คงไม่มีคำพูดใดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเวลานี้ หลายประเทศมีการปกครอง การบริหาร รวมไปถึงขั้นตอนการสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองที่ต่างกันออกไป อาจจะมีบางส่วนที่คล้ายกัน บางประเทศที่เหมือนกัน แต่...สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ จะทำอย่างไรให้กระบวนการสรรหาและได้มาผู้ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองเป็นไปอย่างบริสุทธิ์และยุติธรรมมากที่สุด

ประเทศไทย กับ ประเทศสหรัฐอเมริกา ... ถือเป็นหน่วยสังคมหนึ่ง ที่ต้องมีกฎ มีการปกครอง มีผู้นำ มีการเลือกผู้นำ รวมไปถึงมีกระบวนการสรรหา และในกระบวนการสรรหา หรือที่ปัจจุบันเรามักจะได้ยินว่ากระบวนการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ผู้แทนของประชาชนที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเป็นปากเป็นเสียงแทนประชาชน) แน่นอนว่า เมื่อเกิดปัญหาอะไรขึ้นมาภายในสังคม ภายในประเทศ คนกลุ่มนี้จะเป็นผู้แทนของประชาชนเพื่อเข้าไปช่วยแก้ปัญหา

ขั้นตอนของการสรรหา หรือ การเลือกตั้งนั้น ถ้าเราดูกันดีๆแล้วไม่ว่าประเทศไหน สหรัฐอเมริกา หรือประเทศไทยล้วนแต่มีขั้นตอนที่รัดกุม ยากที่จะมีการทุจริตได้ ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งถือว่าเป็นประเทศแม่แบบของการปกครองในระบอบประชาธิบไตย ถือว่าน้อยมากหรือไม่มีเลยกับการทุจริตในการเลือกตั้ง แต่..สำหรับประเทศไทย ประเทศกำลังพัฒนา ปกครองด้วยระบอบประชาธิบไตย ยังมีการทุจริตในการเลือกตั้งให้เห็นกันอยู่มาก มีการฟ้องร้องต่อผู้กระทำผิดในการเลือกตั้งต่างๆนานา ต้องมีการเลือกตั้งซ่อมบ้าง มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงกันเกิดขึ้นมากมาย แต่ก็มีมาตรการการลงโทษต่างๆที่เกี่ยวกับการกระทำผิดในการเลือกตั้งออกมามากมาย แต่หลายคนก็ยังจะทำ เพียงเพื่อที่จะทำให้ตนได้รับเลือกตั้งเข้ามาเท่านั้นเอง...

ทุกวันนี้มาตรการที่กำหนดโทษต่างๆที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งก็มีมากมาย แต่ทำไมคนจึงไม่กลัว ยังมีการกระทำผิดอยู่อย่างต่อเนื่อง ... หรือ เราต้องให้แต่ละคนรู้ด้วยตนเอง รู้ด้วยจิตสำนึกของแต่ละคนและร่วมกันทำให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมมากที่สุด กระนั้นหรือ..???

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2552

เกร็ดความรู้ (การนับคะแนนเสียงของประเทศไทย)

เกร็ดความรู้

การนับคะแนนเสียงของประเทศไทย



ขั้นตอนการดำเนินงานหลังปิดการลงคะแนน

1.คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง หรือกปน.ไม่น้อยกว่า 7 คน ลงรายมือชื่อในป้ายสำหรับปิดช่องใส่บัตรเลือกตั้ง จากนั้นให้นำป้ายไปปิดทับช่องใส่บัตรเลือกตั้งของหีบบัตร และใส่กุญแจ พร้อมประทับครั่งทับรูกุญแจ

กปน.ไม่น้อยกว่า 7 คน ลงรายมือชื่อบนหีบบัตร และปิดทับลายมือชื่อทั้งหมดนั้นด้วย เทปกาวใส เพื่อป้องกันการเปลี่ยนหีบบัตร และมัดหีบบัตรเลือกตั้ง ด้วยเชือก แล้วผูกปมเชือกไว้ด้านข้าง และประทับครั่ง ทับปมเชือก หรือวิธีการอื่น เพื่อป้องกันการเปิดหีบบัตร

2.นำบัตรเลือกตั้งที่ยังไม่ได้ใช้ มานับ พร้อมบันทึกไว้ แล้วใช้โลหะปลายแหลม ตอกทะลุบัตรทุกฉบับ แล้วใช้เชือกร้อยผูกให้เป็นปึกเดียวกัน จากนั้นประทับครั่งทับปมเชือก เพื่อป้องกันไม่ให้เอาบัตรที่เหลืออยู่มาลงคะแนนใหม่ได้

3.นับจำนวนผู้มาแสดงตนและขอรับบัตร จำนวนบัตรที่เหลือ จัดทำเป็นประกาศ ให้กปน.ทุกคนลงลายมือชื่อและปิดประกาศไว้ ณ ที่เลือกตั้ง 1 ชุด ส่งให้คณะกรรมการนับคะแนน 1 ชุด พร้อมกับรายงานการใช้สิทธิเลือกตั้ง

4.นำหีบบัตรเลือกตั้ง และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ส่งกรรมการนับคะแนนเลือกตั้งทันที


ขั้นตอนการขนส่งหีบ


กปน.ไม่น้อยกว่า 5 คน และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย นำหีบบัตรเลือกตั้ง พร้อมบัตรเลือกตั้งที่เหลือ เอกสารที่สำคัญ ส่งคณะกรรมการนับคะแนนเลือกตั้งทันที และให้ อาสาสมัครสังเกตุการการเลือกตั้ง(อสส.) ที่ประจำ ณ ที่เลือกตั้ง เดินทางติดตามไปจนถึงสถานที่นับคะแนนด้วย


การแจ้งเหตุอีกครั้ง หลังจากการเลือกตั้ง 30 วัน

กกต. จะประกาศรายชื่อผู้ที่ไม่ไปเลือกตั้ง และไม่แจ้งเหตุล่วงหน้าไว้ ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน อบต. ฯลฯ เพื่อให้โอกาสไปแจ้งเหตุอีกครั้งหนึ่งภายใน 60 วัน ถ้าครั้งนี้ไม่ไปแจ้งเหตุอีก จะประกาศชื่อเป็นครั้งที่สองและต้องเสียสิทธิทางการเมือง 8 ประการไปจนกว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. หรือ ส.ว. ในครั้งต่อไป

ขั้นตอนการนับคะแนน


ขั้นตอนที่1 คณะกรรมการนับคะแนนเลือกตั้ง(กนค.)ฝ่ายตรวจรับหีบบัตรเลือกตั้ง ทั้งจากที่เลือกตั้งกลาง ที่เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร และที่เลือกตั้งในวันเลือกตั้ง ตรวจรับหีบบัตรทั้งหมด จากกปน. ตรวจนับจำนวนบัตรเลือกตั้งที่เหลือ รวมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของหีบบัตร และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนที่2 กนค. ฝ่ายนับจำนวนบัตรเลือกตั้ง เปิดหีบบัตรเพื่อเปิดนับจำนวนบัตรที่ลงคะแนนแล้วแต่ละประเภท ว่าถูกต้อง ตรงกับรายงานหรือไม่ จากนั้น ให้ลงรายมือชื่อภายในหีบบัตร แล้วปิดหีบดังเดิม ส่งให้กนค.ฝ่ายรักษาหีบบัตร

ขั้นตอนที่3 กนค.ฝ่ายรักษาหีบบัตร ต้องเก็บรักษาหีบบัตรและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ในที่ปลอดภัย จนกว่าจะได้รับหีบบัตรและบัตรเลือกตั้ง ครบทุกหน่วยเลือกตั้งในเขตนั้นแล้ว จึงส่งมอบให้กนค.ฝ่ายรวมบัตรเลือกตั้ง

ขั้นตอนที่4 กนค.ฝ่ายรวมบัตรเลือกตั้ง มีหน้าที่
1.นำบัตรเลือกตั้ง ออกจากหีบบัตร แล้วแยกประเภทของบัตร แล้วจ่ายให้ กนค.ฝ่ายนับคะแนน ครั้งละ500 ใบ
2.รับบัตรเลือกตั้งที่นับคะแนนแล้ว ทุก500ใบ บรรจุลงในบัตรเลือกตั้ง ก่อนที่จะจ่ายบัตรเลือกตั้ง 500 ใบครั้งต่อไป
การบรรจุบัตรเลือกตั้งที่นับคะแนนแล้ว ให้แยกประเภทบัตรบรรจุในหีบบัตรแต่ละใบ แล้วปิดหีบ ส่งให้กนค.ฝ่ายรักษาหีบบัตร

ขั้นตอนที่5 กนค.ฝ่ายนับคะแนน แบ่งหน้าที่กันดังนี้
คนที่1 มีหน้าที่หยิบบัตรเลือกตั้ ง คลี่บัตรแล้วส่งให้คนที่ 2
คนที่2 มีหน้าที่ วินิจฉัยว่าเป็นบัตรดี บัตรเสีย หรือบัตรที่ไม่ลงคะแนน โดยอ่านออกเสียง และชูบัตร ให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นเห็นด้วย หากเป็นบัตรดี ให้อ่านเลขผู้สมัครที่ได้คะแนน หากเป็นบัตรเสีย ให้กกต.เขต สลักหลังบัตร "ว่าเสีย" และลงลายมือชื่อกำกับไม่น้อยกว่า 3 คน
คนที่3 รับบัตรจากคนที่ 2 มาแยกใส่ภาชนะ 3 ใบ ตามประเภทของบัตร
คนที่4 ขีดคะแนนลงบนกระดานดำ หรือโดยวิธีอื่น เพื่อให้คนในบริเวณนั้น เห็นอย่างชัดเจน โดยขีดคะแนน ทั้งบัตรที่เป็นคะแนน บัตรที่ไม่ลงคะแนน และบัตรเสีย(หมายเหตุ)ให้ดำเนินการนับเช่นนี้ทุก 500 ใบ

ขั้นตอนที่6 เมื่อ กนค.ฝ่ายรวมคะแนน ได้รับรายงานผลการนับคะแนนครบทุกชุด ให้นำคะแนนทั้งหมด มารวมเป็นรายงานผลการรวมคะแนน ของเขตเลือกตั้ง โดยแยกเป็น การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และการเลือกตั้งแบบบัญชี่รายชื่อ แล้วรายงานให้กกต.เขตทราบ

ขั้นตอนที่7 เมื่อ กกต.เขต ได้ตรวจสอบผลการนับคะแนนแล้ว ให้จัดทำประกาศผลการนับคะแนน แต่ละประเภทส่งให้กกต.จว.และกกต.ทราบโดยเร็ว


รวมภาพ






วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2552

การนับคะแนนเสียง

การเลือกตั้ง

(Election)

การนับคะแนนเลียง ( Counting the Voters)


การนับคะแนนเสียงเพื่อมิให้เกิดการโกง แต่ละพรรคจะส่งตัวแทน หรือที่เรียกว่า “ Poll Watcherไปคอยสังเกตการณ์ที่หน่วยเลือกตั้งในวันเลือกตั้งเพื่อให้แน่ใจถึงความซื่อสัตย์ โดยทั่วจะส่งไป 2 คนต่อหน่วยการเลือกตั้ง รวมทั้งยังทำหน้าที่คัดค้าน (Challenge) ในกรณีที่เห็นว่าผู้ออกเสียงเลือกตั้งไม่มีคุณสมบัติในการออกเสียงเลือกตั้ง นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรรมการตรวจบัตรเลือกตั้งโดยทั่วไปผู้ที่สนับสนุนของทั้ง 2 ฝ่าย ทำหน้าที่รับคะแนนเสียงที่นับมาจากหน่วยเลือกตั้งแล้วนำมาสร้างตารางแล้วลงตัวเลข และรับรองผู้ชนะ โดยส่งผลไปยังเจ้าหน้าที่ตรวจบัตรเลือกตั้งของมลรัฐซึ่งส่วนใหญ่ก็รับรองผลที่ส่งมาทั้งสิ้น
ในคืนวันเลือกตั้งเจ้าหน้าที่การเลือกตั้งของมลรัฐจะนำผลการลงคะแนนเสียงของแต่ละมลรัฐจัดทำเป็นตารางรายงานผลผ่านศูนย์บริการเครือข่ายการเลือกตั้ง ซึ้งเป็นศูนย์ความร่วมมือระหว่างเครือข่ายโทรทัศน์หลักๆ 3 แห่ง และสมาคมผู้สื่อข่าว (Associated Press) และสหพันธ์ผู้สื่อข่าว (United Press) ซึ่งจะทำการรายงานผลตลอดเวลา

ในปัจจุบันนี้เนื่องจากเทคโนโลยีได้พัฒนาก้าวหน้าไปมาก ทำให้ประชาชนชาวอเมริกันไม่ต้องรอผลการเลือกตั้งกระทั้งการนบคะแนนทั้งหมดเสร็จสิ้นก็สามารถทราบผลอย่างไม่เป็นทางการได้ล่วงหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการใช้ระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ (Computer Online System) และหลักการพยากรณ์ทำให้ทราบผลล่วงหน้าอย่างแม่นยำ

การใช้สิทธิเลือกตั้ง


การเลือกตั้ง

(Election)


การใช้สิทธิเลือกตั้ง (Ballot)

การลงทะเบียนเลือกตั้ง มลรัฐส่วนมากมีทะเบียนเลือกตั้งของประชาชนไว้เรียบร้อย ประชาชนซึ่งจะลงทะเบียนเลือกจะต้องออกเสียงในการเลือกตั้งทั่วไปทุก 2ปี ในอดีตการเลือกตั้งทั่วไปเป็นแบบเปิดเผย (Open Ballot) แต่ภายหลังสหรัฐอเมริกาได้ปรับปรุงให้การออกเสียงเป็นแบบลับ หรือที่เรียกว่า “Australian Ballot”

1.ประเภทของบัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
บัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาสำหรับการเลือกตั้งมี 2 ประเภท คือ
1)บัตรเลือกตั้งแบบคอลัมน์ (The Office-Column Ballot) หรือบัตรเลือกตั้งแบบ
แมสซาจูเซทส์ (Massachusetts Ballot)
บัตรเลือกตั้งแบบนี้หมายถึงการใส่ชื่อของผู้สมัครแข่งขันทั้งหมดในช่องรายชื่อของบัตรเลือกตั้งโดยการเรียงตามลำดับตามแนวตั้ง (Column) ซึ่งเป็นเสมือนการบังคับให้ประชาชนเลือกตัวบุคคลมากกว่าเลือกพรรค
2)บัตรเลือกตั้งแบบพรรค-คอลัมน์ (The Party-column Ballot) หรือบัตรเลือกตั้ง
แบบอินเดียน่า (Indiana Ballot)
บัตรเลือกตั้งแบบนี้นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกา โดยจะพิมพ์รายชื่อของผู้เข้าชิงตำแหน่งของแต่ละพรรคในบัญชีแนวตั้ง (Column) หรือ “pull one lever” ซึ่งเท่ากับผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งได้ลงคะแนนให้แก่รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งคอลัมน์โดยอัตโนมัติ บัตรเลือกตั้งนี้เป็นการกระตุ้นให้ออกเสียงเลือกพรรคโดยตรง (Straight-ticket voting)

2.บัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้งแบบยาวหรือบัตรลงคะแนนเสียงแบบสั้น

บัตรลงคะแนนเสียงทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวข้างต้นสามารถแบ่งออกเป็นบัตรลงคะแนนเสียงแบบยาว (Long Ballot) และบัตรลงคะแนนเสียงแบบสั้น (Short Ballot) บัตรลงคะแนนเสียงแบบยาวบางครั้งรียกว่า “Bedsheet Ballot” หรือ “Jungle Ballot” บัตรลงคะแนนเสียงแบบยาวจะมีรายชื่อของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งโดยทั่วไปในหลายๆมลรัฐและในหลายท้องถิ่นมีเรื่องที่ต้องเพิ่มเติมลงไปมาก ส่วนบัตรลงคะแนนเสียงแบบสั้นมีเรื่องไม่มาก ในการเลือกตั้งระดับชาติบัตรลงคะแนนเสยงแบบสั้นใช้ออกเสียงเพื่อเลือกประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาสูง แต่บัตรลงคะแนนแบบสั้นนี้ก็ใช้ในการเลือกตั้งของมลรัฐด้วย นักวิชาการมองเห็นว่าบัตรลงคะแนนเสียงแบบยาวของบัตรจะทำให้ผู้ออกเสียงละเลยไม่ออกเสียงเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งในลำดับท้ายๆ เนื่องจากคุณสมบัติของผู้สมัครไม่ได้ หรืออาจจะเลือกแบบเดา เป็นต้น